วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556
ส่งงาน 15/16 (ชนิดของเครื่องกลึง)
ชนิดของเครื่องกลึง
1.เครื่องกลึงยันศูนย์ (Engine Lathe)เป็นเครื่องกลึงความเร็วรอบสูง ใช้กลึงงานได้หลายขนาดที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ใหญ่เกินไป และกลึงงานได้หลากหลาย นิยมใช้ในโรงงานทั่วไป
2. เครื่องกลึงเทอร์เรท (Turret Lathe) เป็นเครื่องกลึงที่มีหัวจับมีดตัดหลายหัว เช่น จับมีดกลึงปากหน้า มีดกลึงปอกมีดกลึงเกลียว จับดอกเจาะยันศูนย์ เป็นต้น ทำให้การกลึงงานที่มีรูปทรงเดียวกันและมีจำนวนมากๆ ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การกลึงเกลียว การบู๊ช เป็นต้น
3.เครื่องกลึงตั้ง (Vertical Lathe) เป็นเครื่องกลึงที่ใช้ในงานกลึงปอก งานคว้านชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ เช่น เสื้อสูบ เป็นต้น
4.เครื่องกลึงหน้าจาน (Facing Lathe) เป็นเครื่องกลึงที่ใช้ในการปาดหน้าชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ เช่น ล้อรถไฟ เป็นต้น
ล้อรถไฟ เป็นต้น
ส่งงาน 14/16 (ประเภทของหลอดไฟ)
ประเภทของหลอดไฟ
ในปัจจุบันนี้มีหลอดไฟให้เราเลือกใช้อยู่มากมายหลายประเภท มีทั้งหลอดไฟที่ให้ความสว่างแตกต่างกัน หรือว่าเป็นหลอดที่มีความสว่างเท่ากันแต่เป็นคนละประเภท ซึ่งประสิทธิผลย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นก่อนการเลือกติดตั้งหลอดไฟ ภายในบ้านของเรานั้น ควรศึกษาและทำความเข้าใจหลอดไฟประเภทต่างๆ ในท้องตลาดว่ามีลักษณะและประเภท การใช้งานอย่างไร เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และยังช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย
หลอดไส้ หรือ หลอดอินแคนเดสเซนท์ บางทีเรียกว่าหลอดดวงเทียน มีทั้งชนิดแก้วใส และแก้วฝ้า ไส้หลอดทำจากทังสเตน เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไส้หลอดจะเกิดความร้อนขึ้น ยิ่งความร้อนมากขึ้นเท่าใดแสงสว่างที่เปล่งออกมาจากไส้หลอดก็จะมากขึ้นเท่านั้น และให้แสงสีเหลืองส้ม อายุการใช้งานสั้น ทั้งยังสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าอย่างมาก เนื่องจากสูญเสียพลังงานไปกับความร้อนที่เกิดขึ้น เพราะสาเหตุนี้ปัจจุปันนี้จึงไม่เป็นนิยมนำหลอดไฟชนิดนี้ไปใช้งาน
หลอดฮาโลเจน
มีหลักการทำงานคล้ายกับหลอดไส้คือ กำเนิดแสงจากความร้อน โดยให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไส้หลอดที่ทำจากทังสเตน แต่จะแตกต่างจากหลอดไส้ ตรงที่มีการบรรจุสารตะกูลฮาโลเจน ได้แก่ ไอโอดีน คลอลีน โบรมีน และฟลูออรีน ลงในหลอดแก้วที่ทำด้วยควอทซ์ ซึ่งจะช่วยให้หลอดฮาโลเจนมีอายุการใช้งาน ปริมาณแสงสว่าง อุณหภูมิสี สูงกว่าหลอดไส้ และให้แสงสีขาว และให้ค่าความถูกต้องของสีถึง 100 % มีอายุการใช้งานประมาณ 1500-3000 ชม จึงนิยมใช้ให้แสงพวกเครื่องประดับ หรือให้แสงสำหรับการแต่งหน้า
หลอดไอปรอท หรือ หลอดแสงจันทร์
การทำงานของหลอดประเภทนี้ จะทำงานด้วยหลักการปล่อยประจุความเข้มสูง มีอายุการใช้งานประมาณ 24000 ชม มีค่าความถูกต้องของสีค่อนข้างต่ำ แสงจะออกนวลมีปริมาณแสงสว่างต่อวัตต์สูงกว่าหลอดชนิดอื่นๆ แสงส่องสว่างได้ไกลเหมาะกับงานสนามและภายนอกอาคาร เมื่อเปิดหลอดประเภทนี้ จะต้องใช้เวลาสักพักหนึ่งก่อน จะทำงานได้เต็มที่ และเมื่อปิดแล้วก็ต้องรออีกราวสิบนาทีก่อนจะเปิดใช้งานได้อีก ปัจจุบันหลอดไอปรอท ไม่นิยมใช้งานแล้ว เนื่องจากดูแลรักษายาก และปรอท ก็ยังเป็นพิษต่อคนและสิ่งแวดล้อม
หลอดเมทัลฮาไลน์
ลักษณะการกำเนิดแสงสว่าง คล้ายกับหลอดแสงจันทร์ แต่ภายในบรรจุอิเล็กตรอนที่ทำด้วยทังสเตนล้วนๆ ภายในกระเปาะผสมฮาไลน์ชนิดต่างๆ ทำให้ได้ ปริมาณแสงมากขึ้นกว่าหลอดแสงจันทร์ เกือบเท่าตัว ได้แสงสีสมดุลขึ้น จนดูใกล้เคียงแสงแดด อายุการใช้งานประมาณ 24000 ชม ใช้กับงานที่ต้องการความถูกต้องสีมาก เช่น งานพิมพ์สี สนามกีฬาเฉพาะที่มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ สวนสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า
หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือ หลอดนีออน
เป็นหลอดแก้วทรงกระบอก หรือแบบกลม ด้านในหลอดเคลือบด้วยสารเรืองแสง ก๊าชที่บรรจุอยู่ภายในหลอดจะแตกตัวเป็น ไอออนเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปกระทบก๊าช จะเกิดรังสีอัลตร้าไวโอเลตที่ทำให้หลอดสว่างขึ้น ใช้งานร่วมกับบัลลาสต์ และ สตาร์ทเตอร์ ให้แสงสว่างนวลตา เหมาะกับการทำงาน สามารถให้สีของแสงได้หลายแบบ เช่น สี warm white ให้แสง สีขาวอมเหลืองนวล ทำให้รู้สึกอบอุ่น สี cool white ให้แสงสีขาวอมฟ้า ให้ความรู้สึกเย็นสบายตา แต่จะทำให้สีของวัตถุเพี้ยนไป และสี day light ให้แสงใกล้เคียงกับแสงธรรมชาติ ทำให้มองเห็นสีของ วัตถุใกล้เคียงกับสีจริง ให้แสงสว่างมากขึ้น 4 เท่า มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าถึง 8 เท่า (6,000 ถึง มากกว่า 20,000 ชั่วโมง) และใช้พลังงานเพียง 20% เมื่อเทียบกับหลอดไส้
หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์
มีหลักการทำงานเหมือนหลอดฟลูออเรสเซนต์ มีทั้งแบบที่มีบัลลาสต์ในตัว มีขั้วเป็นแบบเกลียว สวมใส่เข้ากับเต้าเกลียวของหลอดไส้ได้เลย และแบบที่มีขั้วเป็นขาเสียบ ใช้ร่วมกับโคม และมีบัลลาสต์ภายนอก โดยผลิตออกมาหลายค่าพลังงาน สีของแสง มี warm white, cool white และ day light เช่นเดียวกับหลอดฟลูออเรสเซนต์ รูปร่างก็หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหลอดคู่ หลอดสี่แถว หลอดยาว หลอดเกลียว หลอดมีโคมครอบ มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์
หลอด LED
หลอด LED ถือว่าเป็นทางเลือกของอนาคตได้เลยทีเดียว ด้วยคุณสมบัติการทำงานที่ไม่มีการเผาไส้หลอด จึงไม่เกิดความร้อน แสงสว่างเกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอภายในสารกึ่ง พลังงานเปลี่ยนเป็นแสงสว่างได้เต็มที่ มีแสงหลายสีให้เลือกใช้งาน ขนาดที่เล็กทำให้ยืดหยุ่นในการออกแบบ การจัดเรียง นำไปใช้ด้านตกแต่งได้ดี มีความทนทาน ไม่ต้องห่วงเรื่องไส้หลอดขาด หรือหลอดแตก ด้านอายุการใช้งานก็อยู่ได้ถึง 50,000-60,000 ชั่วโมง ทั้งยังปรับหรี่แสงได้ง่ายกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ และที่สำคัญ ปราศจากปรอท และสารกลุ่มฮาโลเจนที่เป็นพิษ แต่มีข้อเสีย คือในปัจจุบันหลอด LED มีราคาสูงกว่าหลอดธรรมดาทั่วไปและมีความสว่างไม่มากนัก
ส่งงาน 13/16 (แบบนั่งร้าน)
SCAFFOLDING FRAMES
นั่งร้าน ขาตั้ง ตะเกียบ ช้อต่อ แผ่นทางเดิน บันได ล้อ เกลียวปรับ ยูเฮด
นั่งร้าน ขาตั้ง ตะเกียบ ช้อต่อ แผ่นทางเดิน บันได ล้อ เกลียวปรับ ยูเฮด
นั่งร้านแบบลิ่ม (RINGLOCK SCAFFOLDING)
นั่งร้านเหล็กหอเลื่อน (ROLLING TOWER)
โครงสร้างนั่งร้าน>ขาตั้งนั่งร้าน (SCAFFOLDING FRAME)
โครงสร้างนั่งร้าน>กากบาทนั่งร้าน (cross brace)
โครงสร้างนั่งร้าน>ฝาครอบนั่งร้าน (walking frame) / อุปกรณ์นั่งร้าน>ข้อต่อนั่งร้าน เกลียวปรับระดับนั่งร้าน
อุปกรณ์นั่งร้าน>บันไดนั่งร้าน แผ่นทางเดินนั่งร้าน อุปกรณ์กันตกนั่งร้าน ล้อนั่งร้าน
อุปกรณ์ประกอบนั่งร้าน>ไปป์แคมป์ฟอจ (forged pipe clamp) BS1139
อุปกรณ์ประกอบนั่งร้าน>ไปป์แคมป์รุ่นมาตราฐาน ประกอบโครงสร้างนั่งร้านแบบท่อเหล็กกลม (pipe clamp)
ส่งงาน 12/16 (แนะนำตู้เชื่อมไฟฟ้า เครื่องเชื่อมไฟฟ้า สำหรับช่างเชื่อมมือใหม่)
แนะนำตู้เชื่อมไฟฟ้า เครื่องเชื่อมไฟฟ้า สำหรับช่างเชื่อมมือใหม่
แนะนำการเลือกใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้า WELPRO & IWELD ขั้นเบื้องต้นการเชื่อมคือการทำให้ชิ้นงานสองชิ้นติดกัน บางครั้งอาจจะใช้ลวดเติม (หรือธูปเชื่อม)เพื่อใช้ในการต่อเชื่อมก็ได้ หลักการเชื่อมคือการหลอมละลายโหละเข้าด้วยกันโดยพยายามไม่ให้อากาศอ๊อกซิเจนเข้าไปผสมในบริเวณบ่อหลอมละลายเพื่อป้องกันการอ๊อกซิไดซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดสนิมบทความนี้เลยขอแนะนำเครื่องเชื่อมต่างๆ สำหรับช่างเชื่อมหรือพ่อบ้านที่กำลังเลือกซื้อเครื่องเชื่อมเอาไปใช้งาน
ตัวแรกคือเครื่องเชื่อมแก๊ส (Gas Welding) เครื่องเชื่อมชนิดนี้จะใช้แก๊ส (หรือก๊าซ) ที่เผาไหม้ได้ผสมกับแก๊สอ๊อกซิเจนเพื่อให้เกิดเปลวไฟที่มีความร้อนสูงเพื่อใช้ในการหลอมเนื้อโลหะให้ติดกัน การเชื่อมวิธีนี้อาจไม่จำเป็นต้องใช้ลวดเติม ลวดเชื่อม ธูปเชื่อม นอกจากการเชื่อมชิ้นงานแล้ว การเชื่อมก๊าชยังสามารถนำไปใช้ในการตัดโลหะได้อีกด้วยการเชื่อมแก๊สเป็นวิธีที่ง่ายและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายวิธีหนึ่ง แก๊สที่ใช้ส่วนใหญ่คืออะซิติลีน
ข้อดี: ข้อดีของการเชื่อมแก๊สคือ เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ง่าย พกพาสะดวก ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า
ข้อเสีย: ข้อเสียของการเชื่อมแก๊สคือ อันตรายที่อาจเกิดขึ้ได้จากแก๊สรั่ว , แก๊สพิษเนื่องจากผสมแก๊สไม่ถูกต้อง, การระเบิดของถังแก๊ส ฉนั้นการเชื่อมแก๊สนี้ไม่เหมาะกับช่างมือใหม่ที่ใช้เชื่อมตามบ้าน หรือหาประสบการณ์ สรุป: วิธีเชื่อมแก๊สนี้เหมาะสำหรับ การเชื่อมโลหะที่เป็นแผ่นบาง ตามซอกและที่แคบ การเชื่อมสนามที่บริเวณนั้นไม่มีไฟฟ้าหรือเครื่องปั่นไฟ
ตัวที่สองคือการเชื่อมไฟฟ้า หรือการเชื่อมโลหะด้วยธูปเชื่อมหุ้มฟลักซ์ (Manual Matel Arc Weldingหรือ MMA) เครื่องเชื่อมไฟฟ้าจะใช้กระแสไฟฟ้าทำให้เกิดกระแสไฟอาร์กระหว่างธูปเชื่อม (หรือลวดเชื่อม) กับชิ้นงาน ความร้อนที่เกิดขึ้นทำให้ปลายลวดเชื่อมหลอมละลายลงไปเติมแนวเชื่อม ส่วนฟลักซ์เมื่อถูกหลอมละลายบางส่วนจะกลายเป็นแก็สปกคลุมบริเวณแนวเชื่อมเพื่อป้องกันอากาศที่มีอ๊อกซิเจน ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดสนิม บางส่วนจะกลายเป็นสแลกปกคลุมแนวเชื่อม กระแสไฟที่ใช้เชื่อมสามารถใช้ได้ทั้งกระแสตรง (ARC DC) หรือกระแสสลับ (ARC AC) ซึ่งเราจะขออธิบายในคราวต่อไป
ข้อดี: ข้อดีของใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้าคือ เชื่อมได้เร็ว เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ง่าย พกพาสะดวก ราคาประหยัด ไม่ต้องใช้แก๊ส
ข้อเสีย: ข้อเสียของการใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้าคือ ความร้อนและสะเก็ดไฟหรือประกายไฟที่เกิดจากการอาร์ก ควันมาก ต้องมีแหล่งจ่ายไฟ ไม่เหมาะกับการเชื่อมชิ้นงานบางๆ
สรุป: เครื่องเชื่อมไฟฟ้าชนิดนี้เหมาะสำหรับช่างมือใหม่ที่ต้องการเรียนรู้วิธีการเชื่อมโลหะ จนถึงช่างที่มีประสบการณ์ในการเชื่อม การเชื่อมโลหะด้วยธูปเชื่อมหุ้มฟลักซ์ไม่เหมาะกับการเชื่อมสแตนเลสและอลูมิเนียม (ชิ้นงานที่บางๆ)
เครื่องเชื่อมไฟฟ้า คุณภาพดี ประหยัดไฟ มีใบรับประกัน ที่อยากแนะนำคือ เครื่องเชื่อมไฟฟ้า รุ่นWELPRO WELARC140IGBT, WELPRO WELARC160, WELPRO WELARC200 , IWELD MMA 140IGBT,IWELD MMA 160, IWELD MMA 200
ตัวที่สามคือเครื่องเชื่อมทิก TIG (Tungsten Inert Gas Welding)หรือเครื่องเชื่อมอาร์กอน การใช้เครื่องเชื่อม TIG จะใช้การนำกระแสไฟฟ้าที่ปลายลวดทังสแตน(Tungsten) ส่งผ่านไปยังแนวเชื่อมเพื่อให้เกิดความร้อนและชิ้นงานหลอมละลายจนติดกันเอง โดยอาศัยแก๊สอาร์กอนซึ่งเป็นแก๊สเฉื่อยปกคลุมบริเวณแนวเชื่อมเพื่อป้องกันอากาศที่มีอ๊อกซิเจนซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดสนิม แก๊สอาร์กอนทำหน้าที่เหมือนฟลั๊กของลวดเชื่อมธูปที่ใช้งานในเครื่องเชื่อมไฟฟ้า MMA ในบางกรณีเราอาจใช้ลวดเติมพร้อมกับการใช้เครื่องเชื่อมทิกเพื่อให้ได้แนวเชื่อมตามที่ต้องการ
ข้อดี: ข้อดีของใช้เครื่องเชื่อมทิก TIG คือ แนวเชื่อมสวยงาม ชิ้นงานเนียบมีคุณภาพ สะอาด ควันน้อย ไม่มีกระกายไฟ ไม่ต้องใข้ลวดเติม สามารถเชื่อมชิ้นงานบางๆได้ ทั้งสแตนเลส อลูมิเนียม ทองเหลือง ทองแดง เครื่องเชื่อม TIG บางรุ่นสามารถทำการเชื่อมโลหะด้วยธูปเชื่อมหุ้มฟลักซ์
ข้อเสีย: ข้อเสียของการใช้เครื่องเชื่อมทิก TIG คือ เชื่อมได้ช้า ราคาค่อยข้างแพง ต้องใช้ความชำนาญในการเชื่อม การตั้งค่าค่อยข้างซับซ้อน ต้องมีแหล่งจ่ายไฟ ต้องใช้แก๊ส
สรุป: เครื่องเชื่อมทิก TIG ชนิดนี้เหมาะสำหรับงานคุณภาพที่ต้องอาศัยความปราณีตของช่างที่มีประสบการณ์ในการเชื่อม เหมาะกับการเชื่อมสแตนเลสและอลูมิเนียม (ชิ้นงานที่บางๆ)
เครื่องเชื่อมTIG คุณภาพดี ประหยัดไฟ มีใบรับประกัน ที่อยากแนะนำคือ เครื่องเชื่อมTIG รุ่น WELPRO WELTIG 160, WELPRO WELTIG 200, WELPRO WELTIG 250 , IWELD TIG 160, IWELD TIG 160, IWELD
ตัวที่สี่เครื่องเชื่อมมิก MIG (Metal Inert Gas) หรือที่ช่างเรียกับว่าเครื่องเชื่อมคาร์บอน (CO2) ซึ่งที่จริงแล้วเครื่องเชื่อมสนิมนี้อาจจะใช้แก๊สผสมด้วยคาร์บอนก็ได้ขึ้นอยู่กับชิ้นงานที่ต้องการเชื่อม เครื่องเชื่อมมิกจะเชื่อมโดยการป้อนเนื้อลวดลงไปที่ชิ้นงานอัตโนมัติโดยเครื่องเชื่อมเพื่อให้เกิดการหลอมละลายอย่างต่อเนื่องโดยมีแก๊สคาร์บอนปกคลุมตามแนวเชื่อมเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศอ๊อกซิเจนเข้าไปที่บ่อหลอมละลาย
ข้อดี: ข้อดีของใช้เครื่องเชื่อมมิก MIG คือ เชื่อมโลหะได้เกือบทุกชนิด เหล็ก สแตนเลส อลูมิเนียม ทองแดง เหล็กเหนียว เครื่องเชื่อมมิกสามารถเชื่อมแบบป้อนลวดเติมแบบอัตโนมัติ การเชื่อมมิกสามารถเดินแนวเชื่อมได้อย่างต่อเนื่องและเร็วกว่าการเชื่อมไฟฟ้าที่ใช้ธูปเชื่อมที่ต้องเปลี่ยนธูปเชื่อมบ่อยๆ เครื่องเชื่อมมิกบางรุ่นสามารถเชื่อมแบบธรรมดาโดยใช้ธูปเชื่อมได้
ข้อเสีย: ข้อเสียของการใช้เครื่องเชื่อมมิก MIG คือ ราคาค่อยข้างสูง ต้องใช้ความชำนาญในการเชื่อม การตั้งค่าค่อยข้างซับซ้อน ต้องมีแหล่งจ่ายไฟและใช้แก๊ส ไม่เหมาะกับการเคลื่อนย้ายบ่อยๆ ใช้กระแสไฟสูง
สรุป: เครื่องเชื่อมมิก MIG ชนิดนี้เหมาะสำหรับงานเชื่อมตามโรงงานอุตสาหกรรม งานเชื่อมที่ต้องการคุณภาพงานสูง เหมาะกับการเชื่อมงานได้ทุกประเภท
เครื่องเชื่อมมิก MIG คุณภาพดี ประหยัดไฟ มีใบรับประกัน ที่อยากแนะนำคือ เครื่องเชื่อมมิก MIG รุ่น WELPRO WELMIG/MMA 200Y, WELPRO WELMIG/MMA 250Y1, WELPRO WELMIG/MMA 250Y3
ส่งงาน 11/16 ( คุณสมบัติธาตุต่างๆเมือผสมลงไปในเหล็ก)
คุณสมบัติของธาตุต่าง ๆ เมื่อผสมลงไปในเหล็ก
C Al B Be Ca Ce Co Cr Cu Mn Mo N Ni O Pb P S Si Ti V W
คาร์บอน (Carbon) - สัญลักษณ์ทางเคมี คือ C
เป็นธาตุที่สำคัญที่สุด จะต้องมีผสมอยู่ในเนื้อเหล็ก มีคุณสมบัติทำให้เหล็กแข็งเพิ่มขึ้น หลังจากนำไปอบชุบ (Heat Treatment) โดยรวมตัวกับเนื้อเหล็ก เป็นสารที่เรียกว่า มาร์เทนไซต์ (Martensite) และซีเมนไตด์ (Cementite) นอกจากนั้น คาร์บอนยังสามารถรวมตัวกับเหล็ก และธาตุอื่น ๆ กลายเป็นคาร์ไบด์ (Carbide) ซึ่งจะช่วยเพิ่มความต้านทานต่อการสึกหรอของเหล็ก อย่างไรก็ตาม คาร์บอนจะลดความยืดหยุ่น (Elasticity) ความสามารถในการตีขึ้นรูป (Forging) และความสามารถในการเชื่อม (Welding) และไม่มีผลต่อความต้านทานการกัดกร่อน
อลูมิเนียม (Aluminium) - สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Al
เป็นธาตุที่นิยมใช้เป็นตัวไล่แก็สออกซิเจน และไนโตรเจน (Deoxidizer และ Denitrizer) มากที่สุด ซึ่งผสมอยู่เล็กน้อยในเหล็ก จะมีผลทำให้เนื้อละเอียดขึ้น เมื่อใช้ผสมลงในเหล็กที่จะนำไปผ่านกระบวนการอบชุบแข็ง โดยวิธีไนไตรดิ้ง (Nitriding) ทั้งนี้เนื่องจากอลูมิเนียมสามารถรวมตัวกับไนโตรเจน เป็นสารที่แข็งมาก ใช้ผสมลงในเหล็กทนความร้อนบางชนิด เพื่อให้ต้านทานต่อการตกสะเก็ด (Scale) ได้ดีขึ้น
โบรอน (Boron) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ B
ช่วยเพิ่มความสามารถชุบแข็งแก่เหล็ก ที่ใช้ทำชิ้นส่วนเครื่องจักรทั่วไป จึงทำให้ใจกลางของงานที่ทำด้วยเหล็กชุบผิวแข็ง มีความแข็งสูงขึ้น โบรอนสามารถดูดกลืนนิวตรอนได้สูง จึงนิยมเติมในเหล็กที่ใช้ทำฉากกั้นอุปกรณ์นิวเคลียร์
เบริลเลียม (Beryllium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Be
สปริงนาฬิกาซึ่งต้องต่อต้านอำนาจแม่เหล็ก และรับแรงแปรอยู่ตลอดเวลานั้น ทำจากทองแดงผสมเบริลเลียม (Beryllium-Coppers Alloys) โลหะผสมนิกเกิล-เบริลเลียม (Ni-Be Alloys) แข็งมาก ทนการกัดกร่อนได้ดี ใช้ทำเครื่องมือผ่าตัด
แคลเซียม (Calcium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Ca
แคลเซียมจะใช้ในลักษณะแคลเซียมซิลิไซด์ (CaSi) เพื่อลดออกซิเดชั่น (Deoxidation) นอกจากนั้น แคลเซียม ยังช่วยเพิ่มความต้านทานการเกิดสเกลของวัสดุที่ใช้เป็นตัวนำความร้อน
ซีเรียม (Cerium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Ce
เป็นตัวลดออกซิเจนและกำมะถันได้ดี ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติด้าน Hot Working ของเหล็กกล้า และปรับปรุงความต้านทานการเกิดสเกลของเหล็กทนความร้อน
โคบอลต์ (Cobalt) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Co
ไม่ทำให้เกิดคาร์ไบด์ แต่สามารถป้องกันไม่ไห้เหล็กเกิดเนื้อหยาบที่อุณหภูมิสูง ดังนั้น จึงช่วยปรับปรุงให้เหล็กมีความแข็งแรงที่อุณหภูมิสูง ด้วยเหตุนี้ จึงใช้ผสมในเหล็กขึ้นรูปงานร้อน เหล็กทนความร้อน และเหล็กไฮสปีด ธาตุโคบอลต์เมื่อได้รับรังสีนิวตรอนจะเกิดเป็น โคบอลต์ 60 ซึ่งเป็นสารกัมมันตภาพรังสีอย่างรุนแรง ดังนั้น จึงไม่ควรเติมโคบอลต์ลงในเหล็กที่ใช้ทำเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู
โครเมียม (Chromium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Cr
ทำให้เหล็กอบชุบได้ง่ายขึ้น เพราะลดอัตราการเย็นตัววิกฤตลงอย่างมาก สามารถชุบในน้ำมันหรืออากาศได้ (Oil or Air Quenching) เพิ่มความแข็งให้เหล็ก แต่ลดความทนทานต่อแรงกระแทก (Impact) ลง โครเมียมที่ผสมในเหล็กจะรวมตัวกับคาร์บอน เป็นสารประกอบพวกคาร์ไบด์ ซึ่งแข็งมาก ดังนั้น จึงทำให้เหล็กทนทานต่อแรงเสียดสี และบริเวณที่เป็นรอยคมหรือความคมไม่ลบง่าย ทำให้เหล็กเป็นสนิมได้ยาก เพิ่มความแข็งแรงของเหล็กที่ใช้งานที่อุณหภูมิสูง เพิ่มความทนทานต่อการกัดกร่อนของสารต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
ทองแดง (Copper) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Cu
เพิ่มความแข็งแรง ถ้ามีทองแดงผสมอยู่ในเหล็กแม้เพียงเล็กน้อย เหล็กจะไม่เกิดสนิมเมื่อใช้งานในบรรยากาศ ทองแดงจะไม่มีผลเสียต่อความสามารถในการเชื่อมของเหล็กแต่อย่างไร
แมงกานีส (Manganese) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Mn
ใช้เป็นตัวไล่กำมะถัน (S) ซึ่งเป็นตัวที่ไม่ต้องการในเนื้อเหล็ก จะถูกกำจัดออกในขณะหลอม ทำให้เหล็กอบชุบแข็งง่ายขึ้น เนื่องจากเป็นตัวลดอัตราการเย็นตัววิกฤต (Critical Cooling Rate) ทำให้เหล็กทนทานต่อแรงดึงได้มากขึ้น เพิ่มสัมประสิทธิ์การขยายตัวของเหล็กเมื่อถูกความร้อน แต่จะลดคุณสมบัติในการเป็นตัวนำไฟฟ้า และความร้อน นอกจากนั้น แมงกานีสยังมีอิทธิพลต่อการขึ้นรูปหรือเชื่อม เหล็กกล้าคาร์บอนที่มีปริมาณแมงกานีสเพิ่มขึ้น จะทนต่อการเสียดสีได้ดีขึ้นมาก
โมลิบดีนัม (Molybdenum) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Mo
ปกติจะใช้ผสมรวมกับธาตุอื่น ๆ เป็นตัวลดอัตราการเย็นตัววิกฤต ทำให้อบชุบง่ายขึ้น ป้องกันการเปราะขณะอบคืนตัว (Temper Brittleness) ทำให้เหล็กมีเนื้อละเอียด เพิ่มความทนทานต่อแรงดึงแก่เหล็กมากขึ้น สามารถรวมตัวกับคาร์บอนเป็นคาร์ไบด์ได้ง่ายมาก ดังนั้น จึงปรับปรุงคุณสมบัติในการตัดโลหะ (Cutting) ของเหล็กไฮสปีดได้ดีขึ้น เพิ่มความต้านทานต่อการกัดกร่อน (Corrosion Resistance) แก่เหล็ก อย่างไรก็ตาม เหล็กที่มีโมลิบดินั่มสูงจะตีขึ้นรูปยาก
ไนโตรเจน (Nitrogen) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ N
ขณะทำไนไตรดิ้ง (Nitriding) ไนโตรเจนจะรวมตัวกับธาตุบางชนิดในเหล็ก เกิดเป็นสารประกอบไนไตรด์ ซึ่งทำให้ผิวงานมีความแข็งสูงมาก ต้านทานการสึกหรอได้ดีเยี่ยม
นิกเกิล (Nickel) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Ni
เป็นตัวที่เพิ่มความทนทานต่อแรงกระแทกของเหล็ก ดังนั้น จึงใช้ผสมในเหล็กที่จะนำไปชุบแข็งที่ผิว ใช้ผสมกับโครเมียม ทำให้เหล็กทนทานต่อการกัดกร่อนได้ดี ไม่เป็นสนิมง่าย ทนความร้อน
ออกซิเจน (Oxigen) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ O
ออกซิเจนเป็นอันตรายต่อเหล็ก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ชนิด ส่วนผสม รูปร่าง และการกระจายตัวของสารประกอบที่เกิดจากออกซิเจนนั้น ออกซิเจนทำให้คุณสมบัติเชิงกล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความต้านทานแรงกระแทกลดลง (ตามแนวขวาง) และเปราะยิ่งขึ้น
ตะกั่ว (Lead) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Pb
เหล็กฟรีแมชชีนนิ่ง (Free-Machining Steel) มีตะกั่วผสมอยู่ประมาณ 0.20 - 0.50 % โดยตะกั่วจะเป็นอนุภาคละเอียด กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอภายในเนื้อเหล็ก เมื่อนำไปกลึง หรือตัดแต่งด้วยเครื่องมือกลทำให้ขี้กลึงขาดง่าย จึงทำให้ตัดแต่งได้ง่าย ตะกั่วไม่มีผลกระทบต่อคุณสมบัติเชิงกลของเหล็ก
ฟอสฟอรัส (Phosphorus) และกำมะถัน (Sulphur) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ P และ S ตามลำดับ
เป็นตัวทำลายคุณสมบัติของเหล็ก แต่มักผสมอยู่ในเนื้อเหล็กโดยไม่ได้ตั้งใจ ต้องพยายามให้มีน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ มักจะเรียกสารเหล่านี้ว่า สารมลทิน (Impurities) เหล็กเกรดสูงจะต้องมีฟอสฟอรัสไม่เกิน 0.03 - 0.05 % ส่วนกำมะถันจะทำให้เหล็กเกิด Red Shortness จึงแตกเปราะง่าย โดยทั่วไปจึงจำกัดปริมาณกำมะถันในเหล็กไม่เกิน 0.025 หรือ 0.03 % ยกเว้น เหล็กฟรีแมชชีนนิ่ง (Free Machining) ที่เติมกำมะถันถึง 0.30 % เพื่อให้เกิดซัลไฟด์ขนาดเล็กกระจายทั่วเนื้อเหล็ก ทำให้ขี้กลึงขาดง่าย จึงตัดแต่งด้วยเครื่องมือกลได้ง่าย
ซิลิคอน (Silicon) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Si
ซิลคอนจะปรากฏในเหล็กทุกชนิด เนื่องจากสินแร่เหล็กมักมีซิลิคอนผสมอยู่ด้วยเสมอ ซิลิคอนไม่ใช่โลหะ แต่มีสภาพเหมือนโลหะ ใช้เป็นตัวทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิไดซิ่ง (Oxidizing) ทำให้เหล็กแข็งแรงและทนทานต่อการเสียดสีได้ดีขึ้น เพิ่มค่าแรงดึงที่จุดคราก (Yield Point) ของเหล็กให้สูงขึ้นมาก ดังนั้น จึงใช้ผสมในการทำเหล็กสปริง (Spring Steels) ช่วยทำให้เหล็กทนทานต่อการตกสะเก็ด (Scale) ที่อุณหภูมิสูงได้ดี จึงใช้ผสมในเหล็กทนความร้อน เหล็กกล้าที่มีซิลิคอนสูงจะมีเกรนหยาบ
ไทเทเนียม (Titanium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Ti
ไทเทเนียมเป็นโลหะที่แข็งมาก ทำให้เกิดคาร์ไบด์ได้ดี เป็นธาตุผสมที่สำคัญในเหล็กสเตนเลส เพื่อป้องกันการผุกร่อนตามขอบเกรน นอกจากนั้น ไทเทเนียมยังช่วยทำให้เหล็กมีเกรนละเอียด
วาเนเดียม (Vanadium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ V
ทำให้เหล็กทนต่อความร้อนได้ดี เพิ่มความแข็งแรงให้กับเหล็ก โดยไม่ทำให้คุณสมบัติในการเชื่อม และการดึงเสียไป ทำให้เหล็กมีเนื้อละเอียด รวมตัวกับคาร์บอนที่เป็นคาร์ไบด์ได้ง่าย จึงทำให้ทนทานต่อการสึกกร่อน มักจะผสมในเหล็กขึ้นรูปร้อน (Hot Working Steels) และเหล็กไฮสปีด
ทังสเตน (Tungsten) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ W
สามารถรวมตัวกับคาร์บอนเป็น คาร์ไบด์ ที่แข็งมาก จึงทำให้เหล็กที่ผสมทังสเตนมีความแข็งมาก หลังจากผ่านการอบชุบ จึงใช้ทำพวกเครื่องมือคม (Cutting Tools) ต่าง ๆ ทำให้เหล็กเหนียวขึ้น และป้องกันไม่ไห้เหล็กเกิดเนื้อหยาบ เนื่องจากการที่เกรนขยายตัว เพิ่มความทนทานต่อการเสียดสีของเหล็ก ดังนั้น จึงนิยมเติมทังสเตนในเหล็กไฮสปีด (Hi-Speed) และเหล็กที่ต้องอบชุบแข็งโดยทั่วไป
ส่งงาน 10/16 (รูปแบบองค์กรธุรกิจ (Business Organization))
รูปแบบองค์กรธุรกิจ (Business Organization)
องค์กรธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่ในประเทศไทยมีหลายรูปแบบ ผู้ประกอบธุรกิจบางคนที่ต้องเริ่มประกอบธุรกิจใหม่ ๆ มักตั้งคำถามว่า ถ้าต้องการจะเป็นเจ้าของธุรกิจสักแห่ง จะเลือกธุรกิจรูปแบบใดดี คำถามนี้ไม่มีคำตอบที่แน่ชัด เนื่องจากรูปแบบความเป็นเจ้าของธุรกิจที่ดีที่สุดนั้น ขึ้นอยู่กับธุรกิจของแต่ละประเภท ความต้องการและลักษณะของธุรกิจแต่ละแห่งว่า รูปแบบความเป็นเจ้าของแบบใดที่เหมาะสมกับธุรกิจนั้นมากที่สุด เจ้าของธุรกิจควรพิจารณาปัจจัยบางอย่างในการเลือกรูปแบบของธุรกิจ ได้แก่ ปัญหาในการจัดตั้ง เงินทุนที่ธุรกิจต้องการกำไรที่ธุรกิจจะนำไปจัดสรร ความสัมพันธ์ด้านอำนาจหน้าที่ในการดำเนินธุรกิจ อายุของการดำเนินธุรกิจ ความต้องการให้ธุรกิจดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ข้อจำกัดทางด้านกฎหมายในเรื่องรูปแบบของความเป็นเจ้าของ เช่น รัฐวิสาหกิจ ซึ่งรัฐบาลจะต้องถือหุ้นเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น
รูปแบบองค์กรธุรกิจ
รูปแบบองค์กรธุรกิจที่ดำเนินอยู่ในวงธุรกิจของประเทศไท จำแนกรูปแบบใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
1.กิจการเจ้าของคนเดียว (Single or Sole Proprietorship)
2.ห้างหุ้นส่วน (Partnership)
3.บริษัทจำกัด (Limited Company)
4.บริษัทมหาชน (Public Company
นอกจาก 4 รูปแบบดังกล่าวข้างต้น ยังอาจมีอีก 2 รูปแบบ คือ สหกรณ์ (Co-operative Society) และรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise) หรือถ้าแบ่งรูปแบบองค์กรธุรกิจตามลักษณะการจดทะเบียนธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ สามารถแบ่งได้ 2 กลุ่ม ดังนี้
การจดทะเบียนพาณิชย์
การจดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการธุรกิจต้องจดทะเบียนหรือไม่ต้องจดทะเบียน ดังนี้
1. ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ คือ บุคคลธรรมดาคนเดียว หรือหลายคน (ห้างหุ้นส่วนสามัญ) รวมทั้งนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ซึ่งประกอบกิจการอันเป็นพาณิชยกิจตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด
2. กิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศให้ผู้ประกอบกิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ดังนี้
2.1 ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
2.2 ผู้ประกอบกิจการขายสินค้า ไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างคิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาท ขึ้นไป หรือีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายสินค้ามีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป
2.3 นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
2.4 ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียว หรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป
2.5 ผู้ประกอบกิจการขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำ และการทำโรงแรม
2.6 ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิตแผ่นซีดี แถบบันทึกวิดีทัศน์ แผ่น VCD DVD หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดีจิตอล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
2.7 ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประกอบด้วยอัญมณี
2.8 ซึ่งขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต บริการอินเตอร์เน็ต การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
2.9 การให้บริการคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต
2.10 การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
2.11 การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
2.12 การให้บริการตู้เพลง
3. กิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ คือ การค้าเร่ การค้าแผงลอย กิจการเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล กิจการของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น กิจการของกระทรวง ทบวง กรม กิจการของมูลนิธ สมาคม สหกรณ์ กิจการซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด
3.1 บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยุ้นส่วนและบริษัท ยกเว้นถ้ากิจการนิติบุคคลเหล่านี้ ถ้าประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ ก็ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ด้วยนั่นก็คือ ธุรกิจขาย ให้เช่า ผลิตหรือับจ้างผลิตแผ่น CD VDO VCD DVD อัญมณี ธุรกิจ E-Commerce การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต ธุรกิจคาราโอเกะ การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์ บริการตู้เพลง
3.2 พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว. 141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515
รูปแบบของกิจการผู้ประกอบการสามารถเลือกรูปแบบของกิจการให้เหมาะสมกับประเภทของธุรกิจของคนได้ดังนี้
1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Single or Sole Proprietorship) คือ กิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของ ทำหน้าที่ในการดำเนินงานบริหาร และรับผิดชอบในหน้าที่ทั้งหมดของกิจการ โดยได้รับผลตอบแทนเป็นกำไร และยอมรับการเสี่ยงภัยต่อการขาดทุนแต่เพียงผู้เดียว กิจการเจ้าของคนเดียวเป็นหน่วยธุรกิจที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย และมีจำนวนมากกว่ากิจการในรูปแบบอื่น ๆ กิจการเจ้าของคนเดียวมีหลายประเภททั้งที่เป็นการขายปลีก การขายส่ง การบริการ ธุรกิจประเภทเจ้าของคนเดียวนี้ มีความสำคัญต่อการผลิต การจำหน่าย และการบริโภคเป็นอย่างมาก กิจการประเภทนี้มักใช้คำนำหน้าว่า “ร้าน” เช่น ร้านโฟโต้ฟาสต์ ร้านภูษาอาภรณ์ ร้านเจเจบิวตี้ซาลอน ร้านรสเลิศโภชนา
ลักษณะและวิธีดำเนินงานของกิจการเจ้าของคนเดียว
1.1 ความเป็นเจ้าของ มีเพียงคนเดียว
1.2 การก่อตั้ง ตั้งได้ง่าย ขั้นตอนน้อยมากไม่ยุ่งยาก เพียงแต่ขออนุญาตจดทะเบียนทำธุรกิจตามกฎหมายเท่านั้น
1.3 ค่าใช้จ่ายในการก่อตั้ง ค่าใช้จ่ายมีเพียงเล็กน้อย แต่ไม่ร่วมค่าใช้จ่ายในการจัดหาสถานที่สำนักงานหรือสร้างโรงงาน
1.4 ความรับผิดชอบ เจ้าของรับผิดชอบในหนี้สินทั้งหมด โดยไม่จำกัดจำนวนในกรณีที่เกิดการล้มละลาย เจ้าหนี้มีสิทธิติดตามเรียกร้องเอาทรัพย์สินของเจ้าของได้
1.5 เงินทุนที่จะใช้ เงินทุนมีน้อยเพราะหุ้นส่วนใหญ่มาจากเจ้าของคนเดียว ดังนั้นจึงมักจะเป็นธุรกิจขนาดย่อมนอกจากทุนในส่วนของเจ้าของแล้วยังอาจกู้ยืมได้จากแหล่งเงินทุนต่าง ๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น ๆ
1.6 ผลตอบแทนจากการลงทุน เจ้าของเป็นผู้รับแต่ผู้เดียวไม่ว่าจะเป็นผลขาดทุนหรือกำไร
1.7 การรักษาความลับ กิจการเจ้าของคนเดียวสามารถรักษาความลับทางธุรกิจได้ดี เนื่องจากไม่จำเป็นต้องมีการประชุมชี้แจงให้ผู้อื่นทราบเหมือนกับการตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท และไม่จำเป็นต้องเปิดเผยหลักฐานทางการเงินต่อสาธารณชน จึงเป็นการเก็บความลับได้เป็นอย่างดี
1.8 กฎระเบียบของทางราชการ กิจการประเภทนี้ไม่มีข้อผูกพันที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเหมือนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เช่น ขอบเขตความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กฎระเบียบของทางราชการแทบจะไม่มีเลยสำหรับกิจการประเภทนี้
1.9 เรื่องภาษี การคำนวณภาษีที่ต้องชำระจากกำไรที่ได้จากการประกอบธุรกิจ กิจการค้าคนเดียวนั้น จะเสียภาษีในรูปภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทำให้เจ้าของกิจการไม่ต้องเสียภาษีซ้อนแม้จะไม่สามารถนำรายจ่ายของกิจการมาหักภาษีได้ทั้งหมดก็ตาม
1.10 ความยืดหยุ่นและการควบคุม การดำเนินงานโดยเจ้าของคนเดียว มีอำนาจเต็มที่ในการควบคุมและตัดสินใจในกิจกรรมต่าง ๆ ของกิจการ แต่มีจุดอุ่น คือ การควบคุมไม่สามารถทำได้อย่างถี่ถ้วน ยิ่งถ้ากิจการขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางก็จะทำให้การควบคุมยากยิ่งขึ้น อันเป็นเหตุให้ต้นทุนและค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น เพราะอาจมีการรั่วไหลได้ง่าย และมีจุดเด่นคือ มีความยืดหยุ่นสูง เจ้าของกิจการสามารถปรับกิจกรรมต่าง ๆ ได้ทันที
1.11 การวัดผลและการประเมินผล การประเมินผลงานการดำเนินงานของธุรกิจ ดูได้จากงบแสดงฐานะการเงิน (Financial Statement) ซึ่งได้แก่ งบดุล (Balance Sheet) และงบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement) หรืองบแสดงรายได้ของกิจการ (Income Statement) รวมทั้งงบจัดสรผลกำไรและขาดทุน (Appropriation Statement) งบแสดงฐานะของธุรกิจเจ้าของคนเดียวนั้น อาจจะได้รับความเชื่อถือน้อยกว่างบแสดงฐานการเงินของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด
1.12 การขยายและการเลิก ย่อมทำได้ง่ายกว่า เพราะเจ้าของคนเดียวตัดสินใจได้เลย หรือถ้าเจ้าของตายหรือล้มละลายก็เลิกกิจการไปโดยอัตโนมัติ ถึงแม้ว่าทายาทจะเข้ามารับผิดช่วงการดำเนินงานต่อ ก็จะถือว่าเป็นการเปิดใหม่ ในการขยายกระทำได้ยากกว่า เพราะเงินทุน จำกัด
ส่งงาน 9/16 (อาเซียนศึกษา)
อาเซียนศึกษา
การจัดตั้ง
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน ได้รับการจัดตั้งขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ณ วังสราญรมย์ ในกระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร โดยมีประเทศสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมา บรูไน ดารุสซาลามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในวันที่ 8 มกราคม 2527 เวียดนามได้เข้าร่วมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2538 ลาวและพม่าเข้าร่วมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 และกัมพูชาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542
ภูมิภาคอาเซียนนั้น ประกอบด้วยประชากรประมาณ 567 ล้านคน มีพื้นที่โดยรวม 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติประมาณ 1,100 พันล้านดอลลาร์ และรายได้โดยรวมจากการค้าประมาณ 1,400 พันล้านดอลลาร์ (สถิติในปี 2550)
วัตถุประสงค์
ปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) ได้ระบุว่า เป้าหมายและจุดประสงค์ของอาเซียน คือ 1. เร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและการพัฒนาวัฒนธรรม ในภูมิภาค
2. ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยการเคารพหลักความยุติธรรมและ หลักนิติธรรมในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาค ตลอดจนยึดมั่นในหลักการแห่ง กฎบัตรสหประชาชาติ ในโอกาสครบรอบ 30 ปีของการก่อตั้งอาเซียน ในปี 2540 (ค.ศ.1997) ผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับรอง “วิสัยทัศน์อาเซียน 2020” (ASEAN Vision 2020) โดยเห็นพ้องกันในวิสัยทัศน์ร่วมของอาเซียนที่จะเป็นวงสมานฉันท์ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอก การใช้ชีวิตในสภาพที่มีสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรือง ผูกมัดกันเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนา ที่มีพลวัตและในประชาคมที่มีความเอื้ออาทรระหว่างกัน ปี 2546 ผู้นำอาเซียนได้เห็นพ้องกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียนที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก อันได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community–ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ภายในปี 2563 ต่อมา ในการประชุม สุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู ฟิลิปปินส์ ผู้นำประเทศอาเซียนตกลงที่จะเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในปี 2558
หลักการพื้นฐานของความร่วมมือ
ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ยอมรับในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันปรากฏอยู่ในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย
การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ประจำชาติของทุกชาติ สิทธิของทุกรัฐในการดำรงอยู่โดยปราศจากจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตยหรือการบีบบังคับจากภายนอก หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกันระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำลัง และความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิกโครงสร้างองค์การของอาเซียน
องค์กรสูงสุดของอาเซียนคือ ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนหรือที่ประชุมของประมุขหรือหัวหน้ารัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Summit) โดยจะมีที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ (ASEAN Ministerial Meeting) และที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers’ Meeting) เป็นองค์กรระดับรอง และอาจมีที่ประชุมระดับรัฐมนตรีด้านอื่นๆ ด้วย การประชุมระดับผู้นำและรัฐมนตรีถือเป็นองค์กรระดับนโยบายชั้นสูง รองลงมาจะเป็นที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส หรือระดับปลัดกระทรวง (Senior Officials’ Meeting -SOM) ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบายของที่ประชุมระดับผู้นำและระดับรัฐมนตรี ส่วนที่ประชุมคณะกรรมการประจำอาเซียน (ASEAN Standing Committee -ASC) ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมอาเซียนของประเทศสมาชิก จะทำหน้าที่กำหนดแนวทาง และเร่งรัดการดำเนินการตามมติที่ประชุมสุดยอดอาเซียนและที่ประชุมระดับรัฐมนตรี รวมทั้งให้ความเห็นชอบโครงการความร่วมมือด้านต่างๆ ภายในอาเซียนและระหว่างอาเซียน กับประเทศคู่เจรจา ตลอดจนรับทราบผลการดำเนินงานของสำนักเลขาธิการอาเซียน ทั้งนี้ อาเซียนจะตัดสินใจในเรื่องใดๆ โดยใช้ฉันทามติ
นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สาม (ASEAN Committee in Third Countries) ซึ่งประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนในประเทศคู่เจรจาทั้ง 10 ประเทศ และในประเทศอื่นๆ ที่อาเซียนเห็นสมควรให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สามจะทำหน้าที่ให้ข้อมูลและวิเคราะห์ท่าทีของประเทศที่คณะกรรมการอาเซียนตั้งอยู่
สำนักเลขาธิการอาเซียนซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานในการดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก มีเลขาธิการอาเซียนเป็นหัวหน้าผู้บริหารสำนักงาน เลขาธิการอาเซียนจะได้รับการเสนอชื่อและแต่งตั้งโดยประเทศสมาชิก (ตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษของชื่อประเทศสมาชิก) และมีรองเลขาธิการอาเซียน 2 คน มาจากประเทศสมาชิกอาเซียนเรียงลำดับตามตัวอักษรชื่อภาษาอังกฤษของประเทศ และมีหน่วยงานเฉพาะด้านที่ดำเนินความร่วมมือ ในด้านต่างๆ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ในขณะที่กรมอาเซียนของประเทศสมาชิกจะทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการแห่งชาติของแต่ละประเทศ ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ของประเทศตนในการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือในสาขาต่างๆ นโยบายหลักในการดำเนินงานของอาเซียนเป็นผลมาจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีเศรษฐกิจ และรัฐมนตรีในสาขาความร่วมมือต่างๆ ของประเทศสมาชิก อย่างไรก็ดี โครงสร้างของอาเซียน รวมทั้งสำนักเลขาธิการอาเซียนตามที่กล่าวมาข้าวต้นกำลังจะถูกปรับเปลี่ยนตามกฎบัตรอาเซียนที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี 2552
ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง
อาเซียนเห็นว่า สันติภาพและเสถียรภาพทางการเมืองเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนา ในด้านต่างๆ จึงมุ่งเน้นการส่งเสริมให้มีความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน (confidence building) ตลอดจน การสร้างเสถียรภาพ (stability) และสันติภาพ (peace) ในภูมิภาค ตลอดระยะเวลา 41 ปีที่ผ่านมา อาเซียนสามารถระงับข้อพิพาทไม่ให้ขยายตัวเป็นความตึงเครียดโดยการเจรจาหารือทางการเมืองและการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน ผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นพ้องในการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community–APSC) อันมีจุดมุ่งหมายในการสร้างความมั่นใจว่าประเทศในภูมิภาคจะอยู่ร่วมกันและร่วมกับประเทศอื่นๆ ในโลกด้วยความสงบสุขในสภาพแวดล้อมที่เป็นประชาธิปไตยและมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียว ประเทศสมาชิกของประชาคมได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะพึ่งพากระบวนการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี และคำนึงว่าความมั่นคงของประเทศสมาชิกจะเกี่ยวโยงกันตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ วิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์ร่วมกัน อันประกอบด้วย การพัฒนาด้านการเมือง การกำหนดและยึดถือบรรทัดฐานร่วมกัน การป้องกันความขัดแย้ง การการแก้ไขความขัดแย้ง การสร้างสันติภาพหลังความขัดแย้ง โดยอยู่บนพื้นฐานอันมั่นคงของกระบวนการ หลักการ ความตกลง และโครงสร้างของอาเซียนที่มีวิวัฒนาการมา ช้านาน ซึ่งปรากฏใน เอกสารสำคัญทางการเมืองดังนี้
ปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) ณ กรุงเทพฯ วันที่ 8 สิงหาคม 2510
ปฏิญญาว่าด้วยเขตสันติภาพ อิสรภาพ และการวางตนเป็นกลาง (Zone of Peace, Freedom and Neutrality Declaration) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2514
ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน (Declaration of ASEAN Concord) ณ บาหลี วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2519
สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia ) ณ บาหลี วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2519
ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยทะเลจีนใต้ (ASEAN Declaration on the South China Sea) ณ กรุงมะนิลา วันที่ 22 กรกฎาคม 2535
สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty on the Southeast Asia Nuclear-Free Zone : SEAN-FZ) ณ กรุงเทพฯ วันที่ 15 ธันวาคม 2540
วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 (ASEAN Vision 2020) ณ กัวลาลัมเปอร์ วันที่ 15 ธันวาคม 2540
ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ครั้งที่ 2 (Declaration of ASEAN Concord II) ณ บาหลี วันที่ 7 ตุลาคม 2546
ปัจจุบันอาเซียนกำลังเจรจาจัดทำร่างแผนงานเพื่อจัดตั้ง APSC เพื่อให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่จะจัดขึ้นในเดือนธันวาคม 2551 ที่ประเทศไทย ให้การรับรอง ทั้งนี้ เป้าหมายหลักของ APSC ได้แก่ (1) สร้างประชาคมอาเซียนให้มีค่านิยมร่วมกัน (2) ให้อาเซียนสามารถเผชิญกับภัยคุกคาม ความมั่นคงในรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่และส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ (3) ให้ประชาคมอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลก โดยให้อาเซียนมีบทบาทนำในภูมิภาค
ด้วยตระหนักถึงความเกี่ยวพันกันของความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประเทศไทย ได้เสนอให้มีการประชุมว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum – ARF) ในปี 2537 โดย ARF จะมุ่งเน้น 3 เรื่องหลักได้แก่ ส่งเสริมการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน (Confidence Building) การพัฒนาการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) และการแก้ไขความขัดแย้ง (Conflict Resolution) ประเทศที่เป็นสมาชิกการประชุมว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน ดารุสซาลาม กัมพูชา แคนาดา จีน สหภาพยุโรป อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ ลาว มาเลเซีย มองโกเลีย พม่า นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ ศรีลังกา ติมอร์-เลสเต ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม
การประชุมว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะหารือเรื่องความมั่นคงในภูมิภาคเป็นหลัก ซึ่งรวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมหาอำนาจ การไม่แพร่ขยายของอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง การต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ สถานการณ์ในทะเลจีนใต้และคาบสมุทรเกาหลี
นอกจากนี้ อาเซียนยังมีกรอบความร่วมมือทางทหาร (ASEAN Defense Ministerial Meeting -ADMM) เพื่อสร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างฝ่ายทหารของประเทศสมาชิก ความร่วมมือ ด้านการป้องกันยาเสพติด การต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติและการก่อการร้าย โดยเฉพาะประเด็นหลังนี้ อาเซียนได้ลงนามในอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย ในปี 2550
การจัดตั้ง
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน ได้รับการจัดตั้งขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ณ วังสราญรมย์ ในกระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร โดยมีประเทศสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมา บรูไน ดารุสซาลามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในวันที่ 8 มกราคม 2527 เวียดนามได้เข้าร่วมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2538 ลาวและพม่าเข้าร่วมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 และกัมพูชาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542
ภูมิภาคอาเซียนนั้น ประกอบด้วยประชากรประมาณ 567 ล้านคน มีพื้นที่โดยรวม 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติประมาณ 1,100 พันล้านดอลลาร์ และรายได้โดยรวมจากการค้าประมาณ 1,400 พันล้านดอลลาร์ (สถิติในปี 2550)
วัตถุประสงค์
ปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) ได้ระบุว่า เป้าหมายและจุดประสงค์ของอาเซียน คือ 1. เร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและการพัฒนาวัฒนธรรม ในภูมิภาค
2. ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยการเคารพหลักความยุติธรรมและ หลักนิติธรรมในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาค ตลอดจนยึดมั่นในหลักการแห่ง กฎบัตรสหประชาชาติ ในโอกาสครบรอบ 30 ปีของการก่อตั้งอาเซียน ในปี 2540 (ค.ศ.1997) ผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับรอง “วิสัยทัศน์อาเซียน 2020” (ASEAN Vision 2020) โดยเห็นพ้องกันในวิสัยทัศน์ร่วมของอาเซียนที่จะเป็นวงสมานฉันท์ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอก การใช้ชีวิตในสภาพที่มีสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรือง ผูกมัดกันเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนา ที่มีพลวัตและในประชาคมที่มีความเอื้ออาทรระหว่างกัน ปี 2546 ผู้นำอาเซียนได้เห็นพ้องกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียนที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก อันได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community–ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ภายในปี 2563 ต่อมา ในการประชุม สุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู ฟิลิปปินส์ ผู้นำประเทศอาเซียนตกลงที่จะเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในปี 2558
หลักการพื้นฐานของความร่วมมือ
ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ยอมรับในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันปรากฏอยู่ในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย
การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ประจำชาติของทุกชาติ สิทธิของทุกรัฐในการดำรงอยู่โดยปราศจากจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตยหรือการบีบบังคับจากภายนอก หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกันระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำลัง และความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิกโครงสร้างองค์การของอาเซียน
องค์กรสูงสุดของอาเซียนคือ ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนหรือที่ประชุมของประมุขหรือหัวหน้ารัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Summit) โดยจะมีที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ (ASEAN Ministerial Meeting) และที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers’ Meeting) เป็นองค์กรระดับรอง และอาจมีที่ประชุมระดับรัฐมนตรีด้านอื่นๆ ด้วย การประชุมระดับผู้นำและรัฐมนตรีถือเป็นองค์กรระดับนโยบายชั้นสูง รองลงมาจะเป็นที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส หรือระดับปลัดกระทรวง (Senior Officials’ Meeting -SOM) ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบายของที่ประชุมระดับผู้นำและระดับรัฐมนตรี ส่วนที่ประชุมคณะกรรมการประจำอาเซียน (ASEAN Standing Committee -ASC) ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมอาเซียนของประเทศสมาชิก จะทำหน้าที่กำหนดแนวทาง และเร่งรัดการดำเนินการตามมติที่ประชุมสุดยอดอาเซียนและที่ประชุมระดับรัฐมนตรี รวมทั้งให้ความเห็นชอบโครงการความร่วมมือด้านต่างๆ ภายในอาเซียนและระหว่างอาเซียน กับประเทศคู่เจรจา ตลอดจนรับทราบผลการดำเนินงานของสำนักเลขาธิการอาเซียน ทั้งนี้ อาเซียนจะตัดสินใจในเรื่องใดๆ โดยใช้ฉันทามติ
นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สาม (ASEAN Committee in Third Countries) ซึ่งประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนในประเทศคู่เจรจาทั้ง 10 ประเทศ และในประเทศอื่นๆ ที่อาเซียนเห็นสมควรให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สามจะทำหน้าที่ให้ข้อมูลและวิเคราะห์ท่าทีของประเทศที่คณะกรรมการอาเซียนตั้งอยู่
สำนักเลขาธิการอาเซียนซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานในการดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก มีเลขาธิการอาเซียนเป็นหัวหน้าผู้บริหารสำนักงาน เลขาธิการอาเซียนจะได้รับการเสนอชื่อและแต่งตั้งโดยประเทศสมาชิก (ตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษของชื่อประเทศสมาชิก) และมีรองเลขาธิการอาเซียน 2 คน มาจากประเทศสมาชิกอาเซียนเรียงลำดับตามตัวอักษรชื่อภาษาอังกฤษของประเทศ และมีหน่วยงานเฉพาะด้านที่ดำเนินความร่วมมือ ในด้านต่างๆ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ในขณะที่กรมอาเซียนของประเทศสมาชิกจะทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการแห่งชาติของแต่ละประเทศ ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ของประเทศตนในการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือในสาขาต่างๆ นโยบายหลักในการดำเนินงานของอาเซียนเป็นผลมาจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีเศรษฐกิจ และรัฐมนตรีในสาขาความร่วมมือต่างๆ ของประเทศสมาชิก อย่างไรก็ดี โครงสร้างของอาเซียน รวมทั้งสำนักเลขาธิการอาเซียนตามที่กล่าวมาข้าวต้นกำลังจะถูกปรับเปลี่ยนตามกฎบัตรอาเซียนที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี 2552
ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง
อาเซียนเห็นว่า สันติภาพและเสถียรภาพทางการเมืองเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนา ในด้านต่างๆ จึงมุ่งเน้นการส่งเสริมให้มีความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน (confidence building) ตลอดจน การสร้างเสถียรภาพ (stability) และสันติภาพ (peace) ในภูมิภาค ตลอดระยะเวลา 41 ปีที่ผ่านมา อาเซียนสามารถระงับข้อพิพาทไม่ให้ขยายตัวเป็นความตึงเครียดโดยการเจรจาหารือทางการเมืองและการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน ผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นพ้องในการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community–APSC) อันมีจุดมุ่งหมายในการสร้างความมั่นใจว่าประเทศในภูมิภาคจะอยู่ร่วมกันและร่วมกับประเทศอื่นๆ ในโลกด้วยความสงบสุขในสภาพแวดล้อมที่เป็นประชาธิปไตยและมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียว ประเทศสมาชิกของประชาคมได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะพึ่งพากระบวนการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี และคำนึงว่าความมั่นคงของประเทศสมาชิกจะเกี่ยวโยงกันตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ วิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์ร่วมกัน อันประกอบด้วย การพัฒนาด้านการเมือง การกำหนดและยึดถือบรรทัดฐานร่วมกัน การป้องกันความขัดแย้ง การการแก้ไขความขัดแย้ง การสร้างสันติภาพหลังความขัดแย้ง โดยอยู่บนพื้นฐานอันมั่นคงของกระบวนการ หลักการ ความตกลง และโครงสร้างของอาเซียนที่มีวิวัฒนาการมา ช้านาน ซึ่งปรากฏใน เอกสารสำคัญทางการเมืองดังนี้
ปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) ณ กรุงเทพฯ วันที่ 8 สิงหาคม 2510
ปฏิญญาว่าด้วยเขตสันติภาพ อิสรภาพ และการวางตนเป็นกลาง (Zone of Peace, Freedom and Neutrality Declaration) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2514
ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน (Declaration of ASEAN Concord) ณ บาหลี วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2519
สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia ) ณ บาหลี วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2519
ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยทะเลจีนใต้ (ASEAN Declaration on the South China Sea) ณ กรุงมะนิลา วันที่ 22 กรกฎาคม 2535
สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty on the Southeast Asia Nuclear-Free Zone : SEAN-FZ) ณ กรุงเทพฯ วันที่ 15 ธันวาคม 2540
วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 (ASEAN Vision 2020) ณ กัวลาลัมเปอร์ วันที่ 15 ธันวาคม 2540
ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ครั้งที่ 2 (Declaration of ASEAN Concord II) ณ บาหลี วันที่ 7 ตุลาคม 2546
ปัจจุบันอาเซียนกำลังเจรจาจัดทำร่างแผนงานเพื่อจัดตั้ง APSC เพื่อให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่จะจัดขึ้นในเดือนธันวาคม 2551 ที่ประเทศไทย ให้การรับรอง ทั้งนี้ เป้าหมายหลักของ APSC ได้แก่ (1) สร้างประชาคมอาเซียนให้มีค่านิยมร่วมกัน (2) ให้อาเซียนสามารถเผชิญกับภัยคุกคาม ความมั่นคงในรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่และส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ (3) ให้ประชาคมอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลก โดยให้อาเซียนมีบทบาทนำในภูมิภาค
ด้วยตระหนักถึงความเกี่ยวพันกันของความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประเทศไทย ได้เสนอให้มีการประชุมว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum – ARF) ในปี 2537 โดย ARF จะมุ่งเน้น 3 เรื่องหลักได้แก่ ส่งเสริมการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน (Confidence Building) การพัฒนาการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) และการแก้ไขความขัดแย้ง (Conflict Resolution) ประเทศที่เป็นสมาชิกการประชุมว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน ดารุสซาลาม กัมพูชา แคนาดา จีน สหภาพยุโรป อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ ลาว มาเลเซีย มองโกเลีย พม่า นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ ศรีลังกา ติมอร์-เลสเต ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม
การประชุมว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะหารือเรื่องความมั่นคงในภูมิภาคเป็นหลัก ซึ่งรวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมหาอำนาจ การไม่แพร่ขยายของอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง การต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ สถานการณ์ในทะเลจีนใต้และคาบสมุทรเกาหลี
นอกจากนี้ อาเซียนยังมีกรอบความร่วมมือทางทหาร (ASEAN Defense Ministerial Meeting -ADMM) เพื่อสร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างฝ่ายทหารของประเทศสมาชิก ความร่วมมือ ด้านการป้องกันยาเสพติด การต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติและการก่อการร้าย โดยเฉพาะประเด็นหลังนี้ อาเซียนได้ลงนามในอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย ในปี 2550
ส่งงาน 8/16 (ความจริงของชีวิตและความหมายของชีวิต)
ความจริงของชีวิตและความหมายของชีวิต
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับชีวิต กำเนิดและวิวัฒนาการของชีวิต
ชีวิต ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 เป็นคำนาม หมายความว่าความเป็นอยู่ตรงกันข้ามกับคำว่า "อชีวะ" หรือ "อชีวิต" คือ ความไม่มีนชีวิตหรือความตายเพราะสิ้นกาย ไออุ่น และวิญญาณ ฉะนั้นการเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตของตนเองจะทำให้เข้าใจข้อเท็จจริง คุณค่า ความสำคัญ ความเป็นไปและความควรจะเป็นแห่งชีวิตของตนได้อย่างถูกต้อง
พระเทพวิสุทธิเมธี (พุทธทาสภิกขุ) ได้กล่าวถึงชีวิตในมุมมองที่แตกต่างกันว่า “เรื่องของชีวิตคืออะไรนี้ มันก็มีหลายแง่หลายมุม , ถ้ามองในแง่วัตถุชีวิตก็มีความหมายอย่างหนึ่ง ถ้ามองในแง่จิตใจก็มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง ถ้ามองในแง่ธรรมะสูงสุด มันก็มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง แต่เราก็เอาความหมายธรรมดา ๆ นี่ว่า ชีวิตคือความที่ยังไม่ตาย ยังมีชีวิตอยู่ นี้มันคืออะไร ? ด้วยคำถามต่อไปอีกว่าเพื่ออะไร ? เพื่อทำอะไร ? (ธรรมะสำหรับครู : 182)
จาการตอบคำถามเกี่ยวกับชีวิตตามทรรศนะของท่านพุทธทาสภิกขุทำให้เราทราบลึกลงไปอีกว่าชีวิตมีจุดหมายปลายทาง มิใช่แต่เพียงสักว่ามีอยู่ เป็นอยู่เท่านั้น ซึ่งจุดหมายปลายทางของชีวิตดังกล่าวคือ ความอยู่รอดซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการปฏิบัติหรือเดินตามกฎธรรมชาติ ความอยู่รอดดังกล่าว หมายถึง การรักษาชีวิตของตนเองและรวมไปถึงการอยู่รอดของผู้อื่นในแวดวงเดียวกันด้วย ดังจะเห็นได้จากพฤติกรรมของหมู่สัตว์ที่มีสัญชาตญาณในการดูแลรักษาเผ่าพันธุ์ของตนให้อยู่รอดด้วยการหาอาหารและป้องกันภัยให้แก่ลูกน้อยและบริวารของตน ดังนั้นความอยู่รอดจึงเป็นเป้าหมายของชีวิตในระดับสากลทั้งในคน สัตว์ และพืช
ประโยชน์ของการรู้ความจริงของชีวิต
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับคนที่รู้ความจริงของชีวิต (2520 : 21) ว่า “คนที่มีความมั่นใจในชีวิตของตน จนไม่หวาดหวั่นพรั่นพรึงแม้ต่อความตาย ก็เพราะได้ดำเนินชีวิตของตนอยู่อย่างดีที่สุดและได้ใช้ชีวิตนั้นให้เกิดคุณประโยชน์คุ้มค่ากับการที่ได้เกิดมาแล้วชาติหนึ่ง เรียกได้ว่าเป็นอยู่อย่างผู้มีชัย ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
ความหมายของคำว่าคน
ท่านพุทธทาสภิกขุได้กล่าวถึงคนในความหมายมนุษย์ว่า “เมื่อพูดถึงคำว่า คน ก็ขอให้ยึดถือเอาความหมายของคำว่ามนุษย์ นั่นแหละเป็นหลัก คำว่า มนุษย์ นี้แปลว่า ผู้มีใจสูง
ตามทรรศนะของท่านพุทธทาส คำว่า “คน” มีความหมายได้ในสองแง่ คือ แง่ภาษาคนและแง่ภาษาธรรม โดยท่านให้พิจารณาดู ดังนี้
1. พิจารณาดู “คน” ในแง่ภาษาคน
คนคืออะไร ? ในภาษาคน ก็คือคนเป็นคนตามความรู้สึกของเราแล้วก็ถือว่าเป็นยอดสุดของวิวัฒนาการ จะกล่าวไปในทางวัตถุร่างกาย เขาก็ถือกันว่า มนุษย์นี้เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการสูงสุด วิวัฒนาการตั้งต้นมาตั้งแต่เป็นสัตว์เซลล์เดียว เป็นสัตว์ในน้ำเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เป็นสัตว์บก เป็นสัตว์ขึ้นไปบนฟ้า เป็นอะไรไปทั่วโลก แล้วก็มาสูงสุดอยู่ที่ความเป็นคน เลยถือว่า คนเป็นยอดสุดของวิวัฒนาการตามวิชาการทางวิทยาศาสตร์
2. พิจารณาดู “คน” ในแง่ภาษาธรรม
เมื่อคนมีวิวัฒนาการทางด้านร่างกายอันสูงสูดกว่าสัตว์ ดังนั้น จึงแสวงหาความแตกต่างของตนเองกับสัตว์ต่าง ๆ ทีนี้มาพิจารณาดูคนในแง่ภาษาธรรมหรือด้านจิตใจ คนเราก็ได้เคยพยายามกันในส่วนนี้ จนกระทั่งเกิดบุคคลชนิดที่เราเรียกกันว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ค้นพบความมีจิตใจที่ประเสริฐที่สุด อยู่เหนือความทุกข์ทั้งปวง แล้วก็สอนให้คนอื่นเป็น แล้วปฏิบัติตามได้ด้วย ก็มีความเป็นคนทางจิตใจเกิดขึ้น ซึ่งดีกว่าสัตว์ สูงกว่าสัตว์ ประเสริฐกว่าสัตว์โดยแท้จริง
ลักษณะของความจริง ความจริงมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับสูงสุด ซึ่งต้องอาศัยสติปัญญาและการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ท่านผู้รู้ทั้งหลายได้วางแนวทางไว้จึงจะสามารถเข้าถึงความจริงได้ เนื่องจากความจริงเป็นนามธรรม จึงต้องอาศัยความรู้เข้าไปศึกษาและอธิบายลักษณะของสิ่งที่เรากำลังพูดถึงเกี่ยวกับเนื้อแท้ของมัน ซึ่งมีคำที่ใช้เป็นสื่ออยู่ 3 คำด้วยกัน คือ ข้อเท็จจริง ความจริง และความเป็นจริง
1. ข้อเท็จจริง (Fact ) หมายถึง ความรู้เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยประจักษ์ทางประสาทสัมผัสทั้งหน้า ได้แก่ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส และกาย กับสัมผัส
2. ความจริง (Truth) หมายถึงสิ่งที่เป็นสากล กล่าวคือเป็นสิ่งที่มีคุณสมบัติที่สอดคล้องกับธรรมชาติของความเป็นจริง (Reality) เช่น เรารู้ว่าสิ่งหนึ่งเป็นความจริงจากการพิสูจน์ตรวจสอบด้วยหลักแห่งเหตุผล เช่น คนทกคนต้องตาย ใครก็ตามที่เป็นคน เขาจะต้องตายแน่นอน
3. ความเป็นจริง (Reality) หมายถึง ความจริงสูงสุด หรือความจริงสมบูรณ์ หมายถึงธรรมชาติแท้ ๆ ของสรรพสิ่งตลอดโครงสร้าง กำเนิด และพัฒนาการของสิ่งนั้น ความจริงสูงสุดดังกล่าวนี้ต้องเป็นจริงที่ตายตัวแน่นอน เป็นอมตะและเป็นนิรันดร เช่น สภาพของจักรวาล สภาพของจิตวิญญาณ เป็นต้น
ทฤษฎีว่าด้วยความจริง
การที่จะตัดสินว่าอะไรจริงหรือไม่ น่าเชื่อถือหรือไม่ อาจใช้ทฤษฎีว่าด้วยความจริงเป็นเครื่องมือในการตัดสิน และทฤษฎีว่าด้วยความจริง ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันดังต่อไปนี้
1. ทฤษฎีสหนัย (Inherence Theory) คือ ทฤษฎีที่ถือว่า การที่จะถือว่า ข้อความใดข้อความหนึ่งเท็จจริงหรือไม่ ให้ดูว่าข้อความนี้สอดคล้องกับข้อความอื่น ๆ ที่อยู่ในระบบเดียวกันหรือไม่ ถ้าสอดคล้องกัน ข้อความนั้นก็เป็นจริง ถ้าขัดแย้งกันข้อความนั้นก็ไม่เป็นจริง เช่นถ้ามีใครพูดว่า "นายแดงต้องตายแน่" เราก็ต้องยอมรับคำพูดนี้จริง เพราะความรู้เดิมมีอยู่ว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องตาย แดงก็ต้องกตายเพราะแดงเป็นสิ่งที่มีชีวิต ทฤษฎีนี้จึงเกี่ยวข้องกับวิธีหาความรู้แบบนิรนัย (Deduction)
2. ทฤษฎีสมนัย (Correspondence Theory) คือทฤษฎีที่ถือว่า การที่จะถือว่าความรู้ใดเป็นความรู้ที่ถูกต้องเป็นจริงก็ต่อเมื่อความรู้นั้นตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ๆ เช่น การที่เราจะยอมรับว่า "น้ำบริสุทธิ์เดือดที่อุณหภูมิ 100 องศา" ก็ต่อเมื่อเราได้ทดลองเอาน้ำไปใส่กาต้มดู ดังนั้นสิ่งที่ค้ำประกันว่า ความรู้ถูกต้องเป็นจริง คือการที่ความรู้นั้นตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ๆ ทฤษฎีนี้จึงเกี่ยวข้องกับการหาความรู้แบบอุปนัย (Induction)
3. ทฤษฎีปฏิบัตินิยม (Pragmatism) คือทฤษฎีที่ถือว่า เกณฑ์ตัดสินความจริง คือ การใช้งานได้ ความสำเร็จประโยชน์ในทางปฏิบัติ ความมีอัตถประโยชน์ คือ พิจารณาจากความสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติ สิ่งที่เป็นจริงคือ สิ่งที่มีประโยชน์ ปฏิบัติแล้วได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ทฤษฎีปฏิบัตินิยมเกิดจากความบกพร่องของทั้งสองทฤษฎีแรกข้างต้น กล่าวคือ ทฤษฎีสหนัย มีความบกพร่องตรงที่ว่า ถ้าความรู้เดิมผิดพลาด ความรู้ที่เราได้รับมาใหม่ ก็จะต้องผิดพลาดด้วย ทฤษฎีสมนัยมีความบกพร่องตรงที่ว่า ในโลกนี้มีแต่ความเปลี่ยนแปลง ความไม่แน่นอน ดังนั้น สิ่งที่คิดว่าเป็นความจริงในขณะนี้อาจจะไม่ตรงกับคามจริงในอนาคตก็ได้ ดังนั้นจึงมีผู้เสนอให้ใช้ทฤษฎีปฏิบัตินิยมแทน
ข้อควรระลึกเสมอก็คือในบรรดาทฤษฎีทั้งสามนี้ ไม่มีทฤษฎีใดสมบูรณ์แน่นอนตายตัว ขนาดที่ว่าสามารถจะนำไปใช้ได้กับทุกกรณีทุกที่ทุกสถานการณ์ ทฤษฎีแต่ละทฤษฎีล้วนมีข้อจำกัดในการนำไปใช้ เช่น ทฤษฎีสหนัยใช้ได้ดีกับความจริงทางคณิตศาสตร์ ส่วนทฤษฎีสมนัยนั้นใช้สำหรับตรวจสอบความถูกต้องหรือความจริงทางวิทยาศาสตร์ และถ้ายังไม่พอใจวิธีการ ทั้งสองนั้นก็น่าจะลองหันมาใช้ทฤษฎีปฏิบัตินิยมดูได้ เพราะทฤษฎีปฏิบัตินิยมเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในทางศาสนา และคำสอนในทางศาสนา หากไม่มีการปฏิบัติย่อมจะไม่เกิดผลใด ๆ ขึ้น ตัวอย่างเช่น ในทางพระพุทธศาสนามีคำสอนที่นำชีวิตไปสู่ความพ้นทุกข์ ที่เรียกว่า "นิพพาน" หรือ "อรหันต์" ใครก็ตามที่บรรลุถึงจุดนี้ได้ จะต้องถือปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือมรรคมีองค์ 8 โดยเคร่งครัด ตามหลักมัฌชิมาปฏิปทา หาไม่เช่นนั้น การศึกษาเล่าเรียนโดยไม่ปฏิบัติ ก็จะได้เพียงเรียนรู้จดจำ จะไม่มีโอกาสเข้าถึงสัจจะคือ นิพพาน ตามอุดมการณ์สูงสุดของพระพุทธศาสนาได้เลย
ส่งงาน 7/16 (ความหมายของคุณธรรมนำความรู้)
ความหมายของคุณธรรมนำความรู้
ความหมายของคุณธรรมพจนานุกรมฉบับราชบัณทิตสถาน พ.ศ 2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า คุณธรรมหมายถึง สภาพคุณงามความดี ดวงเดือน พันธุมนาวิน ( 2543 ) ได้ให้ความหมายว่า คุณธรรม คือสิ่งที่บุคคลยอมรับว่าป็นสิ่งดีงามมีประโยชน์มาก และมีโทษน้อย สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ ( 2546 ) กล่าวว่า คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงามความดีไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน สรุปได้ว่า
คนที่มีคุณธรรม หมายถึง คนที่ไม่ก่อความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น มีความรู้สึกนึกคิดในทางที่ดี และมีจิตใจเอื้ออาทรต่อผู้อื่น
คุณธรรมนำความรู้ หมายถึง สภาพคุณงามความดีต้องมาก่อนความรู้ ความสามารถ(คนเก่ง )
การเสริมสร้างคุณธรรม แนวทาง มรรค 8 แห่งการส่งเสริมคุณธรรมประกอบด้วย
1. ผู้ปกครองทุกระดับต้องตั้งอยู่บน ความถูกต้อง ความสุจริต ยุติธรรม เพราะการประพฤติปฏิบัติของผู้ปกครอง จะกระทบกับทุกอณูของสังคม ดังนั้นการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ผู้ปกครองทุกระดับ ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีลงไปถึงหัวหน้าครอบครัวต้องเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม
2. ครอบครัวอบอุ่น การอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวจะผดุงไว้ซึ่งคุณธรรมได้มากกว่าคนที่ไม่ได้อยู่กันครอบคร้ว
3. ชุมชนแข็งแรง ชุมชนเข้มแข็ง จะผดุงไว้ซึ่งคุณธรรมได้มากกว่าชุมชนที่ไม่เข้มแข็ง
4. การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่เป็นรากฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข สัมมาชีพเป็นอาชีพที่ไม่บียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และมีรายจ่ายน้อยกว่ารายได้ สัมมาชีพเป็นการบูรณาการของความดี
5. การมี สปีริตแห่งความเป็นอาสาสมัครเต็มแผ่นดิน รัฐบาลควรมีนโยบายส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษา ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน ใช้เวลาช่วงหนึ่งในแต่ละปีเป็นอาสา สมัครเพื่อเพื่อนมนุษย์ ซึ่งจะไปกระตุ้นเมล็ดพันธ์แห่งความดีในจิตใจของแต่ละคนให้งอกงามขึ้น และเป็นการเชื่อมโยงมนุษย์เข้ามาหากันด้วยความเมตตากรุณา
6. ส่งเสริมการพัฒนาจิตให้เป็นวิถีชีวิต ในขณะที่จิตสามารถฝึกอบรบให้มีความสุขได้ ฝึกอบรมให้ลดความเห็นตัวได้ ฝึกอบรมให้มีสติ มีสมาธิ มีปัญญายิ่งๆขึ้นได้ คนปัจจุบันเกือบไม่มีการพัฒนาจิตเลย ควรส่งเสริมการพัฒนาจิตให้เป็นวิถีชีวิตของผู้คนทั้งในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน ส่งเสริมให้มีศูนย์พัฒนาจิต ทั้งทางสถาบันทางศาสนา หรือดำเนินการโดยฆารวาส
7. การศึกษาที่เข้าถึงความดี การศึกษาของเราเกือบทั้งหมดเอา วิชา เป็นตัวตั้ง จึงทำให้เข้าไม่ถึงความดี ในขณะที่ มีคนที่คิดดีทำดีอยู่ด้วย การศึกษาของคนเราไม่รู้จักค้นหาสิ่งเหล่านั้น การศึกษาทุกระดับควรไปศึกษาวิจัยในพื้นที่ให้รู้จักคนดีๆ แล้วนำมาสื่อสารเรียนรู้กัน เรื่องคนดีก็จะซึมซับเข้าไปสู่ผู้เรียน
8. การสื่อสารความดี เป็นสิ่งที่มีพลังมากทั้งทางบวก และทางลบ ควรมีการสื่อสารให้คนทั้งประเทศเข้าถึงความจริง ความดี และความงาม
ทฤษฎีพัฒนาการทางคุณธรรม
คุณธรรมสามารถจะพัฒนาให้มีขึ้นในตัวบุคคลได้ โดยเริ่มตั้งแต่ในวัยเด็ก การพัฒนาการของคุณธรรม หรือการกำเนิดคุณธรรมนี้ มีนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆได้สรุปเป็นทฤษฎีไว้หลายทฤษฎี ที่สำคัญคือ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ทฤษฎีการเรียนรู้เงื่อนไขผลกรรม ทฤษฎีกระจ่างค่านิยม ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญา และ ทฤษฎีพัฒนาการทางคุณธรรมของโคลเบอร์ก ดังมีรายละเอียด ต่อไปนี้
1. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ( Psychoanalytic Theory ) ฟรอยด์ ( Freud ) นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้กล่าวว่า คุณธรรมของคนนั้นอยู่ในส่วนตน ซึ่งได้รับการขัดเกลาจากสังคม และจะคอยควบคุมพฤติกรรมภายนอกของมนุษย์ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ และค่านิยมของสังคมและคุณธรรมของเด็ก มีพัฒนาการจากความละอายในพฤติกรรม ที่เกิดจากแรงขับ 2 ตัว คือ แรงขับทางกามรมณ์ และแรงขับความก้าวร้าว ซึ่งแรงขับนั้นจะผสมผสานกัน การเรียนแบบโดยเด็ก จะรับเอาบุคลิกภาพ ค่านิยมและมาตรฐาน หรือกฎเกณฑ์ของสังคมจากพ่อแม่และบุคคลใกล้ชิด มาเป็นหลักปฏิบัติของตนโดยอัตโนมัติ เมื่อใดเมื่อตนปฏิบัติไม่สอดคล้องกับค่านิยม หรือมาตรฐานที่ตนนับถือ คุณธรรมที่อยู่ในส่วนตนก็จะกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งในใจ จนเกิดความวิตกกังวล จนต้องเก็บกด หรือถูกระงับการกระทำที่ไม่ถูกไม่ดี ไม่ควร
2. ทฤษฎีการเรียนรู้เงื่อนไขผลกรรม (Operent Conditioning ) ทฤษฎีนี้เสนอโดยสกินเนอร์ นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ว่า มนุษย์ไม่มีเสรีภาพ เพราะพฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมด้วยเงื่อนไขแห่งการเสริมแรง และเงื่อนไขแห่งการลงโทษ เงื่อนไขทั้ง 2 อย่างนี้ จะเป็นผลมาจากการกระทำของตนเอง ผลการกระทำของคนเราที่ได้รับจะเป็น 2 ลักษณะคือ ผลการกระทำที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นแรงเสริมให้แก่การกระทำนั้นมีต่อไป และผลการกระทำที่ทำให้ไม่พึงพอใจจะเป็นตัวทำให้คนเรากระทำพฤติกรรมเช่นนั้นลดลง หรือหยุดไปในที่สุด
3.ทฤษฎีกระจ่างค่านิยม ( Value Calification Theory ) ทฤษฎีนี้เสนอโดยแรทส์ ฮาร์มิน มีสาระสำคัญคือ การทำค่านิยมให้กระจ่างนั้น คือกระบวนการที่บุคคลสามารถเลือกค่านิยมโดยอาศัยความรู้สึกและการวิเคราะห์พฤติกรรมว่าจะเลือกแสดงพฤติกรรมอย่างใด เมื่ออยู่ในภาวะที่ต้องเลือกและช่วยในการกำหนดว่า การเลือกพฤติกรรมเช่นนั้นมีเหตุผลหรือไม่ ความกระจ่างของบุคคลมี 7 ขั้นตอน ดังนี้
3.1 บุคคลเลือกกระทำอย่างอิสรเสรีไม่มีการบังคับ
3.2 บุคคลเลือกทางเลือกหลายๆทาง
3.3 บุคคลเลือกจากการพิจารณาผลของทางเลือกแต่ละทางแล้ว
3.4 บุคคลมีความยินดี และภูมิใจในการเลือกกระทำสิ่งนั้น
3.5 บุคคลยืนยันการตัดสินใจเลือกของตนอย่างเปิดเผย
3.6 บุคคลกระทำตามที่ตนตัดสินใจเลือก และชักชวนผู้อื่น เมื่อมีโอกาส
3.7 บุคคลกระทำพฤติกรรมนั้นเป็นประจำ แม้นว่าผู้อื่นจะไม่กระทำตาม
4. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ( Social Learning Theory ) ทฤษฎีนี้เสนอโดย แบบ ดูรา ซึ่งมีแนวคิดพื้นฐานว่า คุณธรรมเป็นความเข้าใจเพฃกี่ยวกับกฎเกณฑ์สำหรับการประเมินความถูกผิดของพฤติกรรมการเรียนรู้ มี 3 ส่วน ได้แก่ ประสบการณ์ตรงของบุคคลจากการสังเกตผู้อื่น จากการฟัง และจากคำบอกเล่าของผู้อื่น การเกิดคุณธรรมแบ่งเป็น 4 ประการ คือ
4.1 สิ่งที่เรียนรู้
4.2 วิธีการเรียนรู้
4.3 ความเชื่อ
4.4 การควบคุมพฤติกรรม
5. ทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญา ( Cognitive Development Theory )เพียเจท์ มีความคิดว่า พัฒนาการทางคุณธรรมของมนุษย์ขึ้นอยู่กับความฉลาด ในการที่จะรับรู้กฏเกณฑ์ และได้แบ่งขั้นของพัฒนาการทางคุณธรรมของมนุษย์ เป็น 3 ขั้น
1. ขั้นก่อนคุณธรรม เป็นขั้นที่เด็กจะเชื่อฟังตามคำสั่งของคนอื่นอย่างไม่มีเงื่อนไข
2. ขั้นยึดคำสั่ง เป็นขั้นที่เด็กจะปฏิบัติตามกฎเกรพ์ต่างๆ
3. ขั้นยึดหลักแห่งตน เด็กจะมีพัฒนาการในใจเขา สำหรับเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของตนเอง รับผิดชอบในพฤติกรรมของตนเอง
6. ทฤษฎีพัฒนาการทางคุณธรรมของโคลเบอร์ก เมื่อบุคคลมีโอกาสได้ติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ได้รับฟังคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆในทัศนะใหม่ โดยเฉพาะจากบุคคลที่มีระดับพัฒนาการทางคุณธรรมที่สูงกว่า ก็จะช่วยให้เกิดการพัฒนาการทางคุณธรรมในขั้นที่สูงขึ้นได้ การพัฒนาคุณธรรมเกิดจากการผสมผสานความรู้ที่ได้จากการปรับตัว เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น บุคคลจะเรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทของตนเองต่อผู้อื่น บทบาทของบุคคลอื่นๆ และข้อกำหนดจากกฎเกณฑ์ต่างๆของสังคม มาผสมผสานกันเกิดเป็นความเข้าใจใหม่ที่สามารถอธิบายสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด รู้จักใช้เหตุผลในขั้นที่สูงขึ้นได้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมนำความรู้นั้นอกจากครูผู้สอนได้เห็นความตระหนักในการปรับการเรียนการสอนตามแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้แล้ว ครูผู้สอนควรมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยให้สอดแทรกคุณธรรมในการจัดการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียนจัดระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน จัดประกวดสื่อการเรียนการสอนด้านคุณธรรม ยกย่องเชิดชูผู้มีคุณธรรม จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมตามความเหมาะสมในบริบทของสถานศึกษา และครูผู้สอนต้องเป็นแบบอย่างที่ดีดังคำกล่าวที่ว่า “ เป็นแบบอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าคำสอน “
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)