วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

ส่งงาน 7/16 (ความหมายของคุณธรรมนำความรู้)




                                                   ความหมายของคุณธรรมนำความรู้
ความหมายของคุณธรรม
           พจนานุกรมฉบับราชบัณทิตสถาน พ.ศ 2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า คุณธรรมหมายถึง สภาพคุณงามความดี ดวงเดือน พันธุมนาวิน ( 2543 ) ได้ให้ความหมายว่า คุณธรรม คือสิ่งที่บุคคลยอมรับว่าป็นสิ่งดีงามมีประโยชน์มาก และมีโทษน้อย สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ ( 2546 ) กล่าวว่า คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงามความดีไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน สรุปได้ว่า
           คนที่มีคุณธรรม หมายถึง คนที่ไม่ก่อความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น มีความรู้สึกนึกคิดในทางที่ดี และมีจิตใจเอื้ออาทรต่อผู้อื่น

            คุณธรรมนำความรู้ หมายถึง สภาพคุณงามความดีต้องมาก่อนความรู้ ความสามารถ(คนเก่ง )
การเสริมสร้างคุณธรรม แนวทาง มรรค 8 แห่งการส่งเสริมคุณธรรมประกอบด้วย
            1. ผู้ปกครองทุกระดับต้องตั้งอยู่บน ความถูกต้อง ความสุจริต ยุติธรรม เพราะการประพฤติปฏิบัติของผู้ปกครอง จะกระทบกับทุกอณูของสังคม ดังนั้นการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ผู้ปกครองทุกระดับ ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีลงไปถึงหัวหน้าครอบครัวต้องเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม
            2. ครอบครัวอบอุ่น การอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวจะผดุงไว้ซึ่งคุณธรรมได้มากกว่าคนที่ไม่ได้อยู่กันครอบคร้ว
            3. ชุมชนแข็งแรง ชุมชนเข้มแข็ง จะผดุงไว้ซึ่งคุณธรรมได้มากกว่าชุมชนที่ไม่เข้มแข็ง
            4. การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่เป็นรากฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข สัมมาชีพเป็นอาชีพที่ไม่บียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และมีรายจ่ายน้อยกว่ารายได้ สัมมาชีพเป็นการบูรณาการของความดี
            5. การมี สปีริตแห่งความเป็นอาสาสมัครเต็มแผ่นดิน รัฐบาลควรมีนโยบายส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษา ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน ใช้เวลาช่วงหนึ่งในแต่ละปีเป็นอาสา สมัครเพื่อเพื่อนมนุษย์ ซึ่งจะไปกระตุ้นเมล็ดพันธ์แห่งความดีในจิตใจของแต่ละคนให้งอกงามขึ้น และเป็นการเชื่อมโยงมนุษย์เข้ามาหากันด้วยความเมตตากรุณา
            6. ส่งเสริมการพัฒนาจิตให้เป็นวิถีชีวิต ในขณะที่จิตสามารถฝึกอบรบให้มีความสุขได้ ฝึกอบรมให้ลดความเห็นตัวได้ ฝึกอบรมให้มีสติ มีสมาธิ มีปัญญายิ่งๆขึ้นได้ คนปัจจุบันเกือบไม่มีการพัฒนาจิตเลย ควรส่งเสริมการพัฒนาจิตให้เป็นวิถีชีวิตของผู้คนทั้งในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน ส่งเสริมให้มีศูนย์พัฒนาจิต ทั้งทางสถาบันทางศาสนา หรือดำเนินการโดยฆารวาส
            7. การศึกษาที่เข้าถึงความดี การศึกษาของเราเกือบทั้งหมดเอา วิชา เป็นตัวตั้ง จึงทำให้เข้าไม่ถึงความดี ในขณะที่ มีคนที่คิดดีทำดีอยู่ด้วย การศึกษาของคนเราไม่รู้จักค้นหาสิ่งเหล่านั้น การศึกษาทุกระดับควรไปศึกษาวิจัยในพื้นที่ให้รู้จักคนดีๆ แล้วนำมาสื่อสารเรียนรู้กัน เรื่องคนดีก็จะซึมซับเข้าไปสู่ผู้เรียน
            8. การสื่อสารความดี เป็นสิ่งที่มีพลังมากทั้งทางบวก และทางลบ ควรมีการสื่อสารให้คนทั้งประเทศเข้าถึงความจริง ความดี และความงาม

ทฤษฎีพัฒนาการทางคุณธรรม
            คุณธรรมสามารถจะพัฒนาให้มีขึ้นในตัวบุคคลได้ โดยเริ่มตั้งแต่ในวัยเด็ก การพัฒนาการของคุณธรรม หรือการกำเนิดคุณธรรมนี้ มีนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆได้สรุปเป็นทฤษฎีไว้หลายทฤษฎี ที่สำคัญคือ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ทฤษฎีการเรียนรู้เงื่อนไขผลกรรม ทฤษฎีกระจ่างค่านิยม ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญา และ ทฤษฎีพัฒนาการทางคุณธรรมของโคลเบอร์ก ดังมีรายละเอียด ต่อไปนี้
            1. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ( Psychoanalytic Theory ) ฟรอยด์ ( Freud ) นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้กล่าวว่า คุณธรรมของคนนั้นอยู่ในส่วนตน ซึ่งได้รับการขัดเกลาจากสังคม และจะคอยควบคุมพฤติกรรมภายนอกของมนุษย์ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ และค่านิยมของสังคมและคุณธรรมของเด็ก มีพัฒนาการจากความละอายในพฤติกรรม ที่เกิดจากแรงขับ 2 ตัว คือ แรงขับทางกามรมณ์ และแรงขับความก้าวร้าว ซึ่งแรงขับนั้นจะผสมผสานกัน การเรียนแบบโดยเด็ก จะรับเอาบุคลิกภาพ ค่านิยมและมาตรฐาน หรือกฎเกณฑ์ของสังคมจากพ่อแม่และบุคคลใกล้ชิด มาเป็นหลักปฏิบัติของตนโดยอัตโนมัติ เมื่อใดเมื่อตนปฏิบัติไม่สอดคล้องกับค่านิยม หรือมาตรฐานที่ตนนับถือ คุณธรรมที่อยู่ในส่วนตนก็จะกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งในใจ จนเกิดความวิตกกังวล จนต้องเก็บกด หรือถูกระงับการกระทำที่ไม่ถูกไม่ดี ไม่ควร
            2. ทฤษฎีการเรียนรู้เงื่อนไขผลกรรม (Operent Conditioning ) ทฤษฎีนี้เสนอโดยสกินเนอร์ นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ว่า มนุษย์ไม่มีเสรีภาพ เพราะพฤติกรรมของมนุษย์จะถูกควบคุมด้วยเงื่อนไขแห่งการเสริมแรง และเงื่อนไขแห่งการลงโทษ เงื่อนไขทั้ง 2 อย่างนี้ จะเป็นผลมาจากการกระทำของตนเอง ผลการกระทำของคนเราที่ได้รับจะเป็น 2 ลักษณะคือ ผลการกระทำที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นแรงเสริมให้แก่การกระทำนั้นมีต่อไป และผลการกระทำที่ทำให้ไม่พึงพอใจจะเป็นตัวทำให้คนเรากระทำพฤติกรรมเช่นนั้นลดลง หรือหยุดไปในที่สุด
           3.ทฤษฎีกระจ่างค่านิยม ( Value Calification Theory ) ทฤษฎีนี้เสนอโดยแรทส์ ฮาร์มิน มีสาระสำคัญคือ การทำค่านิยมให้กระจ่างนั้น คือกระบวนการที่บุคคลสามารถเลือกค่านิยมโดยอาศัยความรู้สึกและการวิเคราะห์พฤติกรรมว่าจะเลือกแสดงพฤติกรรมอย่างใด เมื่ออยู่ในภาวะที่ต้องเลือกและช่วยในการกำหนดว่า การเลือกพฤติกรรมเช่นนั้นมีเหตุผลหรือไม่ ความกระจ่างของบุคคลมี 7 ขั้นตอน ดังนี้
3.1 บุคคลเลือกกระทำอย่างอิสรเสรีไม่มีการบังคับ
3.2 บุคคลเลือกทางเลือกหลายๆทาง
3.3 บุคคลเลือกจากการพิจารณาผลของทางเลือกแต่ละทางแล้ว
3.4 บุคคลมีความยินดี และภูมิใจในการเลือกกระทำสิ่งนั้น
3.5 บุคคลยืนยันการตัดสินใจเลือกของตนอย่างเปิดเผย
3.6 บุคคลกระทำตามที่ตนตัดสินใจเลือก และชักชวนผู้อื่น เมื่อมีโอกาส
3.7 บุคคลกระทำพฤติกรรมนั้นเป็นประจำ แม้นว่าผู้อื่นจะไม่กระทำตาม
         4. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ( Social Learning Theory ) ทฤษฎีนี้เสนอโดย แบบ ดูรา ซึ่งมีแนวคิดพื้นฐานว่า คุณธรรมเป็นความเข้าใจเพฃกี่ยวกับกฎเกณฑ์สำหรับการประเมินความถูกผิดของพฤติกรรมการเรียนรู้ มี 3 ส่วน ได้แก่ ประสบการณ์ตรงของบุคคลจากการสังเกตผู้อื่น จากการฟัง และจากคำบอกเล่าของผู้อื่น การเกิดคุณธรรมแบ่งเป็น 4 ประการ คือ
4.1 สิ่งที่เรียนรู้
4.2 วิธีการเรียนรู้
4.3 ความเชื่อ
4.4 การควบคุมพฤติกรรม
          5. ทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญา ( Cognitive Development Theory )เพียเจท์ มีความคิดว่า พัฒนาการทางคุณธรรมของมนุษย์ขึ้นอยู่กับความฉลาด ในการที่จะรับรู้กฏเกณฑ์ และได้แบ่งขั้นของพัฒนาการทางคุณธรรมของมนุษย์ เป็น 3 ขั้น
1. ขั้นก่อนคุณธรรม เป็นขั้นที่เด็กจะเชื่อฟังตามคำสั่งของคนอื่นอย่างไม่มีเงื่อนไข
2. ขั้นยึดคำสั่ง เป็นขั้นที่เด็กจะปฏิบัติตามกฎเกรพ์ต่างๆ
3. ขั้นยึดหลักแห่งตน เด็กจะมีพัฒนาการในใจเขา สำหรับเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของตนเอง รับผิดชอบในพฤติกรรมของตนเอง
         6. ทฤษฎีพัฒนาการทางคุณธรรมของโคลเบอร์ก เมื่อบุคคลมีโอกาสได้ติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ได้รับฟังคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆในทัศนะใหม่ โดยเฉพาะจากบุคคลที่มีระดับพัฒนาการทางคุณธรรมที่สูงกว่า ก็จะช่วยให้เกิดการพัฒนาการทางคุณธรรมในขั้นที่สูงขึ้นได้ การพัฒนาคุณธรรมเกิดจากการผสมผสานความรู้ที่ได้จากการปรับตัว เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น บุคคลจะเรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทของตนเองต่อผู้อื่น บทบาทของบุคคลอื่นๆ และข้อกำหนดจากกฎเกณฑ์ต่างๆของสังคม มาผสมผสานกันเกิดเป็นความเข้าใจใหม่ที่สามารถอธิบายสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด รู้จักใช้เหตุผลในขั้นที่สูงขึ้นได้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมนำความรู้นั้นอกจากครูผู้สอนได้เห็นความตระหนักในการปรับการเรียนการสอนตามแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้แล้ว ครูผู้สอนควรมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยให้สอดแทรกคุณธรรมในการจัดการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียนจัดระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน จัดประกวดสื่อการเรียนการสอนด้านคุณธรรม ยกย่องเชิดชูผู้มีคุณธรรม จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมตามความเหมาะสมในบริบทของสถานศึกษา และครูผู้สอนต้องเป็นแบบอย่างที่ดีดังคำกล่าวที่ว่า “ เป็นแบบอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าคำสอน “

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น