วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

ส่งงาน 16/16 (เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสว่านไฟฟ้า)












ส่งงาน 15/16 (ชนิดของเครื่องกลึง)

ชนิดของเครื่องกลึง

      1.เครื่องกลึงยันศูนย์ (Engine Lathe)เป็นเครื่องกลึงความเร็วรอบสูง ใช้กลึงงานได้หลายขนาดที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ใหญ่เกินไป และกลึงงานได้หลากหลาย นิยมใช้ในโรงงานทั่วไป 




     2. เครื่องกลึงเทอร์เรท (Turret Lathe) เป็นเครื่องกลึงที่มีหัวจับมีดตัดหลายหัว เช่น จับมีดกลึงปากหน้า มีดกลึงปอกมีดกลึงเกลียว จับดอกเจาะยันศูนย์ เป็นต้น ทำให้การกลึงงานที่มีรูปทรงเดียวกันและมีจำนวนมากๆ ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การกลึงเกลียว การบู๊ช เป็นต้น 



   3.เครื่องกลึงตั้ง (Vertical Lathe) เป็นเครื่องกลึงที่ใช้ในงานกลึงปอก งานคว้านชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ เช่น เสื้อสูบ เป็นต้น



     4.เครื่องกลึงหน้าจาน (Facing Lathe)   เป็นเครื่องกลึงที่ใช้ในการปาดหน้าชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ เช่น  ล้อรถไฟ เป็นต้น



         5. เครื่องกลึงที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์   (Computer Numerical Control)  เป็นเครื่องจักรกลอัติโนมัติที่ทำงานโดยการโปรแกรมเข้าไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะให้มันทำงานตามแบบที่เราโปรแกรมเข้าไป มีหลายภาษาที่ใช้กับเครื่อง โดยมากจะเป็นงานโลหะที่มีความซับซ้อนและต้องการความแม่นยำสูง โดยที่การหล่อไม่สามารถทำได้หรือสามารถทำได้ก็ตาม
ล้อรถไฟ เป็นต้น

ส่งงาน 14/16 (ประเภทของหลอดไฟ)



ประเภทของหลอดไฟ
       ในปัจจุบันนี้มีหลอดไฟให้เราเลือกใช้อยู่มากมายหลายประเภท มีทั้งหลอดไฟที่ให้ความสว่างแตกต่างกัน หรือว่าเป็นหลอดที่มีความสว่างเท่ากันแต่เป็นคนละประเภท ซึ่งประสิทธิผลย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นก่อนการเลือกติดตั้งหลอดไฟ ภายในบ้านของเรานั้น ควรศึกษาและทำความเข้าใจหลอดไฟประเภทต่างๆ ในท้องตลาดว่ามีลักษณะและประเภท การใช้งานอย่างไร เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และยังช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย

      หลอดไส้ หรือ หลอดอินแคนเดสเซนท์ บางทีเรียกว่าหลอดดวงเทียน มีทั้งชนิดแก้วใส และแก้วฝ้า ไส้หลอดทำจากทังสเตน เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไส้หลอดจะเกิดความร้อนขึ้น ยิ่งความร้อนมากขึ้นเท่าใดแสงสว่างที่เปล่งออกมาจากไส้หลอดก็จะมากขึ้นเท่านั้น และให้แสงสีเหลืองส้ม อายุการใช้งานสั้น ทั้งยังสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าอย่างมาก เนื่องจากสูญเสียพลังงานไปกับความร้อนที่เกิดขึ้น เพราะสาเหตุนี้ปัจจุปันนี้จึงไม่เป็นนิยมนำหลอดไฟชนิดนี้ไปใช้งาน



หลอดฮาโลเจน
          มีหลักการทำงานคล้ายกับหลอดไส้คือ กำเนิดแสงจากความร้อน โดยให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไส้หลอดที่ทำจากทังสเตน แต่จะแตกต่างจากหลอดไส้ ตรงที่มีการบรรจุสารตะกูลฮาโลเจน ได้แก่ ไอโอดีน คลอลีน โบรมีน และฟลูออรีน ลงในหลอดแก้วที่ทำด้วยควอทซ์ ซึ่งจะช่วยให้หลอดฮาโลเจนมีอายุการใช้งาน ปริมาณแสงสว่าง อุณหภูมิสี สูงกว่าหลอดไส้ และให้แสงสีขาว และให้ค่าความถูกต้องของสีถึง 100 % มีอายุการใช้งานประมาณ 1500-3000 ชม จึงนิยมใช้ให้แสงพวกเครื่องประดับ หรือให้แสงสำหรับการแต่งหน้า



หลอดไอปรอท หรือ หลอดแสงจันทร์
          การทำงานของหลอดประเภทนี้ จะทำงานด้วยหลักการปล่อยประจุความเข้มสูง มีอายุการใช้งานประมาณ 24000 ชม มีค่าความถูกต้องของสีค่อนข้างต่ำ แสงจะออกนวลมีปริมาณแสงสว่างต่อวัตต์สูงกว่าหลอดชนิดอื่นๆ แสงส่องสว่างได้ไกลเหมาะกับงานสนามและภายนอกอาคาร เมื่อเปิดหลอดประเภทนี้ จะต้องใช้เวลาสักพักหนึ่งก่อน จะทำงานได้เต็มที่ และเมื่อปิดแล้วก็ต้องรออีกราวสิบนาทีก่อนจะเปิดใช้งานได้อีก ปัจจุบันหลอดไอปรอท ไม่นิยมใช้งานแล้ว เนื่องจากดูแลรักษายาก และปรอท ก็ยังเป็นพิษต่อคนและสิ่งแวดล้อม



หลอดเมทัลฮาไลน์
          ลักษณะการกำเนิดแสงสว่าง คล้ายกับหลอดแสงจันทร์ แต่ภายในบรรจุอิเล็กตรอนที่ทำด้วยทังสเตนล้วนๆ ภายในกระเปาะผสมฮาไลน์ชนิดต่างๆ ทำให้ได้ ปริมาณแสงมากขึ้นกว่าหลอดแสงจันทร์ เกือบเท่าตัว ได้แสงสีสมดุลขึ้น จนดูใกล้เคียงแสงแดด อายุการใช้งานประมาณ 24000 ชม ใช้กับงานที่ต้องการความถูกต้องสีมาก เช่น งานพิมพ์สี สนามกีฬาเฉพาะที่มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ สวนสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า



หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือ หลอดนีออน
          เป็นหลอดแก้วทรงกระบอก หรือแบบกลม ด้านในหลอดเคลือบด้วยสารเรืองแสง ก๊าชที่บรรจุอยู่ภายในหลอดจะแตกตัวเป็น ไอออนเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปกระทบก๊าช จะเกิดรังสีอัลตร้าไวโอเลตที่ทำให้หลอดสว่างขึ้น ใช้งานร่วมกับบัลลาสต์ และ สตาร์ทเตอร์ ให้แสงสว่างนวลตา เหมาะกับการทำงาน สามารถให้สีของแสงได้หลายแบบ เช่น สี warm white ให้แสง สีขาวอมเหลืองนวล ทำให้รู้สึกอบอุ่น สี cool white ให้แสงสีขาวอมฟ้า ให้ความรู้สึกเย็นสบายตา แต่จะทำให้สีของวัตถุเพี้ยนไป และสี day light ให้แสงใกล้เคียงกับแสงธรรมชาติ ทำให้มองเห็นสีของ วัตถุใกล้เคียงกับสีจริง ให้แสงสว่างมากขึ้น 4 เท่า มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าถึง 8 เท่า (6,000 ถึง มากกว่า 20,000 ชั่วโมง) และใช้พลังงานเพียง 20% เมื่อเทียบกับหลอดไส้




หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์
          มีหลักการทำงานเหมือนหลอดฟลูออเรสเซนต์ มีทั้งแบบที่มีบัลลาสต์ในตัว มีขั้วเป็นแบบเกลียว สวมใส่เข้ากับเต้าเกลียวของหลอดไส้ได้เลย และแบบที่มีขั้วเป็นขาเสียบ ใช้ร่วมกับโคม และมีบัลลาสต์ภายนอก โดยผลิตออกมาหลายค่าพลังงาน สีของแสง มี warm white, cool white และ day light เช่นเดียวกับหลอดฟลูออเรสเซนต์ รูปร่างก็หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหลอดคู่ หลอดสี่แถว หลอดยาว หลอดเกลียว หลอดมีโคมครอบ มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์



หลอด LED
          หลอด LED ถือว่าเป็นทางเลือกของอนาคตได้เลยทีเดียว ด้วยคุณสมบัติการทำงานที่ไม่มีการเผาไส้หลอด จึงไม่เกิดความร้อน แสงสว่างเกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอภายในสารกึ่ง พลังงานเปลี่ยนเป็นแสงสว่างได้เต็มที่ มีแสงหลายสีให้เลือกใช้งาน ขนาดที่เล็กทำให้ยืดหยุ่นในการออกแบบ การจัดเรียง นำไปใช้ด้านตกแต่งได้ดี มีความทนทาน ไม่ต้องห่วงเรื่องไส้หลอดขาด หรือหลอดแตก ด้านอายุการใช้งานก็อยู่ได้ถึง 50,000-60,000 ชั่วโมง ทั้งยังปรับหรี่แสงได้ง่ายกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ และที่สำคัญ ปราศจากปรอท และสารกลุ่มฮาโลเจนที่เป็นพิษ แต่มีข้อเสีย คือในปัจจุบันหลอด LED มีราคาสูงกว่าหลอดธรรมดาทั่วไปและมีความสว่างไม่มากนัก

ส่งงาน 13/16 (แบบนั่งร้าน)

                                                        SCAFFOLDING FRAMES 
                      นั่งร้าน ขาตั้ง ตะเกียบ ช้อต่อ แผ่นทางเดิน บันได ล้อ เกลียวปรับ ยูเฮด



นั่งร้านแบบลิ่ม (RINGLOCK SCAFFOLDING)

นั่งร้านเหล็กหอเลื่อน (ROLLING TOWER)

โครงสร้างนั่งร้าน>ขาตั้งนั่งร้าน (SCAFFOLDING FRAME)

โครงสร้างนั่งร้าน>กากบาทนั่งร้าน (cross brace)

โครงสร้างนั่งร้าน>ฝาครอบนั่งร้าน (walking frame) / อุปกรณ์นั่งร้าน>ข้อต่อนั่งร้าน เกลียวปรับระดับนั่งร้าน

อุปกรณ์นั่งร้าน>บันไดนั่งร้าน แผ่นทางเดินนั่งร้าน อุปกรณ์กันตกนั่งร้าน ล้อนั่งร้าน

อุปกรณ์ประกอบนั่งร้าน>ไปป์แคมป์ฟอจ (forged pipe clamp) BS1139

อุปกรณ์ประกอบนั่งร้าน>ไปป์แคมป์รุ่นมาตราฐาน ประกอบโครงสร้างนั่งร้านแบบท่อเหล็กกลม (pipe clamp)





ส่งงาน 12/16 (แนะนำตู้เชื่อมไฟฟ้า เครื่องเชื่อมไฟฟ้า สำหรับช่างเชื่อมมือใหม่)

แนะนำตู้เชื่อมไฟฟ้า เครื่องเชื่อมไฟฟ้า สำหรับช่างเชื่อมมือใหม่


      แนะนำการเลือกใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้า WELPRO & IWELD ขั้นเบื้องต้นการเชื่อมคือการทำให้ชิ้นงานสองชิ้นติดกัน บางครั้งอาจจะใช้ลวดเติม (หรือธูปเชื่อม)เพื่อใช้ในการต่อเชื่อมก็ได้ หลักการเชื่อมคือการหลอมละลายโหละเข้าด้วยกันโดยพยายามไม่ให้อากาศอ๊อกซิเจนเข้าไปผสมในบริเวณบ่อหลอมละลายเพื่อป้องกันการอ๊อกซิไดซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดสนิมบทความนี้เลยขอแนะนำเครื่องเชื่อมต่างๆ สำหรับช่างเชื่อมหรือพ่อบ้านที่กำลังเลือกซื้อเครื่องเชื่อมเอาไปใช้งาน
      ตัวแรกคือเครื่องเชื่อมแก๊ส (Gas Welding) เครื่องเชื่อมชนิดนี้จะใช้แก๊ส (หรือก๊าซ) ที่เผาไหม้ได้ผสมกับแก๊สอ๊อกซิเจนเพื่อให้เกิดเปลวไฟที่มีความร้อนสูงเพื่อใช้ในการหลอมเนื้อโลหะให้ติดกัน การเชื่อมวิธีนี้อาจไม่จำเป็นต้องใช้ลวดเติม ลวดเชื่อม ธูปเชื่อม นอกจากการเชื่อมชิ้นงานแล้ว การเชื่อมก๊าชยังสามารถนำไปใช้ในการตัดโลหะได้อีกด้วยการเชื่อมแก๊สเป็นวิธีที่ง่ายและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายวิธีหนึ่ง แก๊สที่ใช้ส่วนใหญ่คืออะซิติลีน 


 ข้อดี: ข้อดีของการเชื่อมแก๊สคือ เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ง่าย พกพาสะดวก ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า

ข้อเสีย: ข้อเสียของการเชื่อมแก๊สคือ อันตรายที่อาจเกิดขึ้ได้จากแก๊สรั่ว , แก๊สพิษเนื่องจากผสมแก๊สไม่ถูกต้อง, การระเบิดของถังแก๊ส ฉนั้นการเชื่อมแก๊สนี้ไม่เหมาะกับช่างมือใหม่ที่ใช้เชื่อมตามบ้าน หรือหาประสบการณ์ สรุป: วิธีเชื่อมแก๊สนี้เหมาะสำหรับ การเชื่อมโลหะที่เป็นแผ่นบาง ตามซอกและที่แคบ การเชื่อมสนามที่บริเวณนั้นไม่มีไฟฟ้าหรือเครื่องปั่นไฟ
    ตัวที่สองคือการเชื่อมไฟฟ้า หรือการเชื่อมโลหะด้วยธูปเชื่อมหุ้มฟลักซ์ (Manual Matel Arc Weldingหรือ MMA) เครื่องเชื่อมไฟฟ้าจะใช้กระแสไฟฟ้าทำให้เกิดกระแสไฟอาร์กระหว่างธูปเชื่อม (หรือลวดเชื่อม) กับชิ้นงาน ความร้อนที่เกิดขึ้นทำให้ปลายลวดเชื่อมหลอมละลายลงไปเติมแนวเชื่อม ส่วนฟลักซ์เมื่อถูกหลอมละลายบางส่วนจะกลายเป็นแก็สปกคลุมบริเวณแนวเชื่อมเพื่อป้องกันอากาศที่มีอ๊อกซิเจน ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดสนิม บางส่วนจะกลายเป็นสแลกปกคลุมแนวเชื่อม กระแสไฟที่ใช้เชื่อมสามารถใช้ได้ทั้งกระแสตรง (ARC DC) หรือกระแสสลับ (ARC AC) ซึ่งเราจะขออธิบายในคราวต่อไป

ส่งงาน 11/16 ( คุณสมบัติธาตุต่างๆเมือผสมลงไปในเหล็ก)


                                         คุณสมบัติของธาตุต่าง ๆ เมื่อผสมลงไปในเหล็ก
         C   Al   B   Be   Ca   Ce   Co   Cr   Cu   Mn  Mo   N   Ni   O   Pb   P   S   Si   Ti   V   W

คาร์บอน (Carbon) - สัญลักษณ์ทางเคมี คือ C
             เป็นธาตุที่สำคัญที่สุด จะต้องมีผสมอยู่ในเนื้อเหล็ก มีคุณสมบัติทำให้เหล็กแข็งเพิ่มขึ้น หลังจากนำไปอบชุบ (Heat Treatment) โดยรวมตัวกับเนื้อเหล็ก เป็นสารที่เรียกว่า มาร์เทนไซต์ (Martensite) และซีเมนไตด์ (Cementite) นอกจากนั้น คาร์บอนยังสามารถรวมตัวกับเหล็ก และธาตุอื่น ๆ กลายเป็นคาร์ไบด์ (Carbide) ซึ่งจะช่วยเพิ่มความต้านทานต่อการสึกหรอของเหล็ก อย่างไรก็ตาม คาร์บอนจะลดความยืดหยุ่น (Elasticity) ความสามารถในการตีขึ้นรูป (Forging) และความสามารถในการเชื่อม (Welding) และไม่มีผลต่อความต้านทานการกัดกร่อน

อลูมิเนียม (Aluminium) - สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Al
             เป็นธาตุที่นิยมใช้เป็นตัวไล่แก็สออกซิเจน และไนโตรเจน (Deoxidizer และ Denitrizer) มากที่สุด ซึ่งผสมอยู่เล็กน้อยในเหล็ก จะมีผลทำให้เนื้อละเอียดขึ้น เมื่อใช้ผสมลงในเหล็กที่จะนำไปผ่านกระบวนการอบชุบแข็ง โดยวิธีไนไตรดิ้ง (Nitriding) ทั้งนี้เนื่องจากอลูมิเนียมสามารถรวมตัวกับไนโตรเจน เป็นสารที่แข็งมาก ใช้ผสมลงในเหล็กทนความร้อนบางชนิด เพื่อให้ต้านทานต่อการตกสะเก็ด (Scale) ได้ดีขึ้น

โบรอน (Boron) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ B
           ช่วยเพิ่มความสามารถชุบแข็งแก่เหล็ก ที่ใช้ทำชิ้นส่วนเครื่องจักรทั่วไป จึงทำให้ใจกลางของงานที่ทำด้วยเหล็กชุบผิวแข็ง มีความแข็งสูงขึ้น โบรอนสามารถดูดกลืนนิวตรอนได้สูง จึงนิยมเติมในเหล็กที่ใช้ทำฉากกั้นอุปกรณ์นิวเคลียร์

เบริลเลียม (Beryllium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Be
          สปริงนาฬิกาซึ่งต้องต่อต้านอำนาจแม่เหล็ก และรับแรงแปรอยู่ตลอดเวลานั้น ทำจากทองแดงผสมเบริลเลียม (Beryllium-Coppers Alloys) โลหะผสมนิกเกิล-เบริลเลียม (Ni-Be Alloys) แข็งมาก ทนการกัดกร่อนได้ดี ใช้ทำเครื่องมือผ่าตัด

แคลเซียม (Calcium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Ca
          แคลเซียมจะใช้ในลักษณะแคลเซียมซิลิไซด์ (CaSi) เพื่อลดออกซิเดชั่น (Deoxidation) นอกจากนั้น แคลเซียม ยังช่วยเพิ่มความต้านทานการเกิดสเกลของวัสดุที่ใช้เป็นตัวนำความร้อน

ซีเรียม (Cerium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Ce
          เป็นตัวลดออกซิเจนและกำมะถันได้ดี ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติด้าน Hot Working ของเหล็กกล้า และปรับปรุงความต้านทานการเกิดสเกลของเหล็กทนความร้อน

โคบอลต์ (Cobalt) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Co
         ไม่ทำให้เกิดคาร์ไบด์ แต่สามารถป้องกันไม่ไห้เหล็กเกิดเนื้อหยาบที่อุณหภูมิสูง ดังนั้น จึงช่วยปรับปรุงให้เหล็กมีความแข็งแรงที่อุณหภูมิสูง ด้วยเหตุนี้ จึงใช้ผสมในเหล็กขึ้นรูปงานร้อน เหล็กทนความร้อน และเหล็กไฮสปีด ธาตุโคบอลต์เมื่อได้รับรังสีนิวตรอนจะเกิดเป็น โคบอลต์ 60 ซึ่งเป็นสารกัมมันตภาพรังสีอย่างรุนแรง ดังนั้น จึงไม่ควรเติมโคบอลต์ลงในเหล็กที่ใช้ทำเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู

โครเมียม (Chromium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Cr
          ทำให้เหล็กอบชุบได้ง่ายขึ้น เพราะลดอัตราการเย็นตัววิกฤตลงอย่างมาก สามารถชุบในน้ำมันหรืออากาศได้ (Oil or Air Quenching) เพิ่มความแข็งให้เหล็ก แต่ลดความทนทานต่อแรงกระแทก (Impact) ลง โครเมียมที่ผสมในเหล็กจะรวมตัวกับคาร์บอน เป็นสารประกอบพวกคาร์ไบด์ ซึ่งแข็งมาก ดังนั้น จึงทำให้เหล็กทนทานต่อแรงเสียดสี และบริเวณที่เป็นรอยคมหรือความคมไม่ลบง่าย ทำให้เหล็กเป็นสนิมได้ยาก เพิ่มความแข็งแรงของเหล็กที่ใช้งานที่อุณหภูมิสูง เพิ่มความทนทานต่อการกัดกร่อนของสารต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

ทองแดง (Copper) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Cu
           เพิ่มความแข็งแรง ถ้ามีทองแดงผสมอยู่ในเหล็กแม้เพียงเล็กน้อย เหล็กจะไม่เกิดสนิมเมื่อใช้งานในบรรยากาศ ทองแดงจะไม่มีผลเสียต่อความสามารถในการเชื่อมของเหล็กแต่อย่างไร

แมงกานีส (Manganese) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Mn
           ใช้เป็นตัวไล่กำมะถัน (S) ซึ่งเป็นตัวที่ไม่ต้องการในเนื้อเหล็ก จะถูกกำจัดออกในขณะหลอม ทำให้เหล็กอบชุบแข็งง่ายขึ้น เนื่องจากเป็นตัวลดอัตราการเย็นตัววิกฤต (Critical Cooling Rate) ทำให้เหล็กทนทานต่อแรงดึงได้มากขึ้น เพิ่มสัมประสิทธิ์การขยายตัวของเหล็กเมื่อถูกความร้อน แต่จะลดคุณสมบัติในการเป็นตัวนำไฟฟ้า และความร้อน นอกจากนั้น แมงกานีสยังมีอิทธิพลต่อการขึ้นรูปหรือเชื่อม เหล็กกล้าคาร์บอนที่มีปริมาณแมงกานีสเพิ่มขึ้น จะทนต่อการเสียดสีได้ดีขึ้นมาก

โมลิบดีนัม (Molybdenum) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Mo
          ปกติจะใช้ผสมรวมกับธาตุอื่น ๆ เป็นตัวลดอัตราการเย็นตัววิกฤต ทำให้อบชุบง่ายขึ้น ป้องกันการเปราะขณะอบคืนตัว (Temper Brittleness) ทำให้เหล็กมีเนื้อละเอียด เพิ่มความทนทานต่อแรงดึงแก่เหล็กมากขึ้น สามารถรวมตัวกับคาร์บอนเป็นคาร์ไบด์ได้ง่ายมาก ดังนั้น จึงปรับปรุงคุณสมบัติในการตัดโลหะ (Cutting) ของเหล็กไฮสปีดได้ดีขึ้น เพิ่มความต้านทานต่อการกัดกร่อน (Corrosion Resistance) แก่เหล็ก อย่างไรก็ตาม เหล็กที่มีโมลิบดินั่มสูงจะตีขึ้นรูปยาก

ไนโตรเจน (Nitrogen) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ N
          ขณะทำไนไตรดิ้ง (Nitriding) ไนโตรเจนจะรวมตัวกับธาตุบางชนิดในเหล็ก เกิดเป็นสารประกอบไนไตรด์ ซึ่งทำให้ผิวงานมีความแข็งสูงมาก ต้านทานการสึกหรอได้ดีเยี่ยม

นิกเกิล (Nickel) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Ni
          เป็นตัวที่เพิ่มความทนทานต่อแรงกระแทกของเหล็ก ดังนั้น จึงใช้ผสมในเหล็กที่จะนำไปชุบแข็งที่ผิว ใช้ผสมกับโครเมียม ทำให้เหล็กทนทานต่อการกัดกร่อนได้ดี ไม่เป็นสนิมง่าย ทนความร้อน

ออกซิเจน (Oxigen) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ O
          ออกซิเจนเป็นอันตรายต่อเหล็ก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ชนิด ส่วนผสม รูปร่าง และการกระจายตัวของสารประกอบที่เกิดจากออกซิเจนนั้น ออกซิเจนทำให้คุณสมบัติเชิงกล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความต้านทานแรงกระแทกลดลง (ตามแนวขวาง) และเปราะยิ่งขึ้น

ตะกั่ว (Lead) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Pb
         เหล็กฟรีแมชชีนนิ่ง (Free-Machining Steel) มีตะกั่วผสมอยู่ประมาณ 0.20 - 0.50 % โดยตะกั่วจะเป็นอนุภาคละเอียด กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอภายในเนื้อเหล็ก เมื่อนำไปกลึง หรือตัดแต่งด้วยเครื่องมือกลทำให้ขี้กลึงขาดง่าย จึงทำให้ตัดแต่งได้ง่าย ตะกั่วไม่มีผลกระทบต่อคุณสมบัติเชิงกลของเหล็ก

ฟอสฟอรัส (Phosphorus) และกำมะถัน (Sulphur) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ P และ S ตามลำดับ
        เป็นตัวทำลายคุณสมบัติของเหล็ก แต่มักผสมอยู่ในเนื้อเหล็กโดยไม่ได้ตั้งใจ ต้องพยายามให้มีน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ มักจะเรียกสารเหล่านี้ว่า สารมลทิน (Impurities) เหล็กเกรดสูงจะต้องมีฟอสฟอรัสไม่เกิน 0.03 - 0.05 % ส่วนกำมะถันจะทำให้เหล็กเกิด Red Shortness จึงแตกเปราะง่าย โดยทั่วไปจึงจำกัดปริมาณกำมะถันในเหล็กไม่เกิน 0.025 หรือ 0.03 % ยกเว้น เหล็กฟรีแมชชีนนิ่ง (Free Machining) ที่เติมกำมะถันถึง 0.30 % เพื่อให้เกิดซัลไฟด์ขนาดเล็กกระจายทั่วเนื้อเหล็ก ทำให้ขี้กลึงขาดง่าย จึงตัดแต่งด้วยเครื่องมือกลได้ง่าย

ซิลิคอน (Silicon) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Si
        ซิลคอนจะปรากฏในเหล็กทุกชนิด เนื่องจากสินแร่เหล็กมักมีซิลิคอนผสมอยู่ด้วยเสมอ ซิลิคอนไม่ใช่โลหะ แต่มีสภาพเหมือนโลหะ ใช้เป็นตัวทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิไดซิ่ง (Oxidizing) ทำให้เหล็กแข็งแรงและทนทานต่อการเสียดสีได้ดีขึ้น เพิ่มค่าแรงดึงที่จุดคราก (Yield Point) ของเหล็กให้สูงขึ้นมาก ดังนั้น จึงใช้ผสมในการทำเหล็กสปริง (Spring Steels) ช่วยทำให้เหล็กทนทานต่อการตกสะเก็ด (Scale) ที่อุณหภูมิสูงได้ดี จึงใช้ผสมในเหล็กทนความร้อน   เหล็กกล้าที่มีซิลิคอนสูงจะมีเกรนหยาบ

ไทเทเนียม (Titanium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Ti
       ไทเทเนียมเป็นโลหะที่แข็งมาก ทำให้เกิดคาร์ไบด์ได้ดี เป็นธาตุผสมที่สำคัญในเหล็กสเตนเลส เพื่อป้องกันการผุกร่อนตามขอบเกรน นอกจากนั้น ไทเทเนียมยังช่วยทำให้เหล็กมีเกรนละเอียด

วาเนเดียม (Vanadium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ V
        ทำให้เหล็กทนต่อความร้อนได้ดี เพิ่มความแข็งแรงให้กับเหล็ก โดยไม่ทำให้คุณสมบัติในการเชื่อม และการดึงเสียไป ทำให้เหล็กมีเนื้อละเอียด รวมตัวกับคาร์บอนที่เป็นคาร์ไบด์ได้ง่าย จึงทำให้ทนทานต่อการสึกกร่อน มักจะผสมในเหล็กขึ้นรูปร้อน (Hot Working Steels) และเหล็กไฮสปีด

ทังสเตน (Tungsten) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ W
        สามารถรวมตัวกับคาร์บอนเป็น คาร์ไบด์ ที่แข็งมาก จึงทำให้เหล็กที่ผสมทังสเตนมีความแข็งมาก หลังจากผ่านการอบชุบ จึงใช้ทำพวกเครื่องมือคม (Cutting Tools) ต่าง ๆ ทำให้เหล็กเหนียวขึ้น และป้องกันไม่ไห้เหล็กเกิดเนื้อหยาบ เนื่องจากการที่เกรนขยายตัว เพิ่มความทนทานต่อการเสียดสีของเหล็ก ดังนั้น จึงนิยมเติมทังสเตนในเหล็กไฮสปีด (Hi-Speed) และเหล็กที่ต้องอบชุบแข็งโดยทั่วไป

ส่งงาน 10/16 (รูปแบบองค์กรธุรกิจ (Business Organization))


รูปแบบองค์กรธุรกิจ  (Business Organization)
             องค์กรธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่ในประเทศไทยมีหลายรูปแบบ  ผู้ประกอบธุรกิจบางคนที่ต้องเริ่มประกอบธุรกิจใหม่ ๆ  มักตั้งคำถามว่า ถ้าต้องการจะเป็นเจ้าของธุรกิจสักแห่ง จะเลือกธุรกิจรูปแบบใดดี  คำถามนี้ไม่มีคำตอบที่แน่ชัด เนื่องจากรูปแบบความเป็นเจ้าของธุรกิจที่ดีที่สุดนั้น ขึ้นอยู่กับธุรกิจของแต่ละประเภท   ความต้องการและลักษณะของธุรกิจแต่ละแห่งว่า รูปแบบความเป็นเจ้าของแบบใดที่เหมาะสมกับธุรกิจนั้นมากที่สุด   เจ้าของธุรกิจควรพิจารณาปัจจัยบางอย่างในการเลือกรูปแบบของธุรกิจ  ได้แก่ ปัญหาในการจัดตั้ง เงินทุนที่ธุรกิจต้องการกำไรที่ธุรกิจจะนำไปจัดสรร    ความสัมพันธ์ด้านอำนาจหน้าที่ในการดำเนินธุรกิจ   อายุของการดำเนินธุรกิจ ความต้องการให้ธุรกิจดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง    ข้อจำกัดทางด้านกฎหมายในเรื่องรูปแบบของความเป็นเจ้าของ เช่น รัฐวิสาหกิจ  ซึ่งรัฐบาลจะต้องถือหุ้นเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น

รูปแบบองค์กรธุรกิจ
        รูปแบบองค์กรธุรกิจที่ดำเนินอยู่ในวงธุรกิจของประเทศไท จำแนกรูปแบบใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
            1.กิจการเจ้าของคนเดียว (Single or Sole Proprietorship)
            2.ห้างหุ้นส่วน (Partnership)
            3.บริษัทจำกัด (Limited Company)
           4.บริษัทมหาชน (Public Company

           นอกจาก 4 รูปแบบดังกล่าวข้างต้น ยังอาจมีอีก 2 รูปแบบ คือ สหกรณ์ (Co-operative Society)   และรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise)   หรือถ้าแบ่งรูปแบบองค์กรธุรกิจตามลักษณะการจดทะเบียนธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ สามารถแบ่งได้    2   กลุ่ม ดังนี้

การจดทะเบียนพาณิชย์
             การจดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499   ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการธุรกิจต้องจดทะเบียนหรือไม่ต้องจดทะเบียน ดังนี้
1. ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์    คือ บุคคลธรรมดาคนเดียว  หรือหลายคน (ห้างหุ้นส่วนสามัญ)  รวมทั้งนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย  ซึ่งประกอบกิจการอันเป็นพาณิชยกิจตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด
                2. กิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศให้ผู้ประกอบกิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ดังนี้
2.1 ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
2.2 ผู้ประกอบกิจการขายสินค้า ไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างคิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาท  ขึ้นไป  หรือีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายสินค้ามีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป
2.3 นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม  และสินค้านั้นมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
2.4 ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียว หรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป
2.5 ผู้ประกอบกิจการขนส่งทางทะเล  การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ  การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน  การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน  การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำ และการทำโรงแรม
2.6 ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิตแผ่นซีดี แถบบันทึกวิดีทัศน์ แผ่น VCD  DVD หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดีจิตอล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
2.7 ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประกอบด้วยอัญมณี
2.8 ซึ่งขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต บริการอินเตอร์เน็ต การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์  ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
   2.9 การให้บริการคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต
   2.10 การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
   2.11 การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
   2.12 การให้บริการตู้เพลง

3. กิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์  คือ การค้าเร่ การค้าแผงลอย  กิจการเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล กิจการของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น  กิจการของกระทรวง ทบวง กรม กิจการของมูลนิธ สมาคม สหกรณ์ กิจการซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด
3.1 บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยุ้นส่วนและบริษัท ยกเว้นถ้ากิจการนิติบุคคลเหล่านี้  ถ้าประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ ก็ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ด้วยนั่นก็คือ ธุรกิจขาย  ให้เช่า ผลิตหรือับจ้างผลิตแผ่น CD VDO  VCD  DVD  อัญมณี  ธุรกิจ  E-Commerce   การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต ธุรกิจคาราโอเกะ การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์ บริการตู้เพลง
3.2 พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว. 141   ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515
รูปแบบของกิจการผู้ประกอบการสามารถเลือกรูปแบบของกิจการให้เหมาะสมกับประเภทของธุรกิจของคนได้ดังนี้
1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Single or Sole Proprietorship) คือ  กิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของ  ทำหน้าที่ในการดำเนินงานบริหาร  และรับผิดชอบในหน้าที่ทั้งหมดของกิจการ  โดยได้รับผลตอบแทนเป็นกำไร  และยอมรับการเสี่ยงภัยต่อการขาดทุนแต่เพียงผู้เดียว  กิจการเจ้าของคนเดียวเป็นหน่วยธุรกิจที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย  และมีจำนวนมากกว่ากิจการในรูปแบบอื่น ๆ  กิจการเจ้าของคนเดียวมีหลายประเภททั้งที่เป็นการขายปลีก  การขายส่ง การบริการ ธุรกิจประเภทเจ้าของคนเดียวนี้   มีความสำคัญต่อการผลิต  การจำหน่าย  และการบริโภคเป็นอย่างมาก  กิจการประเภทนี้มักใช้คำนำหน้าว่า “ร้าน” เช่น  ร้านโฟโต้ฟาสต์  ร้านภูษาอาภรณ์  ร้านเจเจบิวตี้ซาลอน  ร้านรสเลิศโภชนา
      ลักษณะและวิธีดำเนินงานของกิจการเจ้าของคนเดียว
      1.1 ความเป็นเจ้าของ มีเพียงคนเดียว
      1.2 การก่อตั้ง ตั้งได้ง่าย ขั้นตอนน้อยมากไม่ยุ่งยาก  เพียงแต่ขออนุญาตจดทะเบียนทำธุรกิจตามกฎหมายเท่านั้น
      1.3 ค่าใช้จ่ายในการก่อตั้ง  ค่าใช้จ่ายมีเพียงเล็กน้อย  แต่ไม่ร่วมค่าใช้จ่ายในการจัดหาสถานที่สำนักงานหรือสร้างโรงงาน
      1.4 ความรับผิดชอบ  เจ้าของรับผิดชอบในหนี้สินทั้งหมด  โดยไม่จำกัดจำนวนในกรณีที่เกิดการล้มละลาย  เจ้าหนี้มีสิทธิติดตามเรียกร้องเอาทรัพย์สินของเจ้าของได้
      1.5 เงินทุนที่จะใช้  เงินทุนมีน้อยเพราะหุ้นส่วนใหญ่มาจากเจ้าของคนเดียว ดังนั้นจึงมักจะเป็นธุรกิจขนาดย่อมนอกจากทุนในส่วนของเจ้าของแล้วยังอาจกู้ยืมได้จากแหล่งเงินทุนต่าง ๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น ๆ
      1.6 ผลตอบแทนจากการลงทุน เจ้าของเป็นผู้รับแต่ผู้เดียวไม่ว่าจะเป็นผลขาดทุนหรือกำไร
      1.7 การรักษาความลับ  กิจการเจ้าของคนเดียวสามารถรักษาความลับทางธุรกิจได้ดี  เนื่องจากไม่จำเป็นต้องมีการประชุมชี้แจงให้ผู้อื่นทราบเหมือนกับการตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท  และไม่จำเป็นต้องเปิดเผยหลักฐานทางการเงินต่อสาธารณชน  จึงเป็นการเก็บความลับได้เป็นอย่างดี
      1.8 กฎระเบียบของทางราชการ  กิจการประเภทนี้ไม่มีข้อผูกพันที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเหมือนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท  เช่น ขอบเขตความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  กฎระเบียบของทางราชการแทบจะไม่มีเลยสำหรับกิจการประเภทนี้
      1.9 เรื่องภาษี การคำนวณภาษีที่ต้องชำระจากกำไรที่ได้จากการประกอบธุรกิจ กิจการค้าคนเดียวนั้น  จะเสียภาษีในรูปภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  ทำให้เจ้าของกิจการไม่ต้องเสียภาษีซ้อนแม้จะไม่สามารถนำรายจ่ายของกิจการมาหักภาษีได้ทั้งหมดก็ตาม
      1.10 ความยืดหยุ่นและการควบคุม  การดำเนินงานโดยเจ้าของคนเดียว  มีอำนาจเต็มที่ในการควบคุมและตัดสินใจในกิจกรรมต่าง ๆ ของกิจการ แต่มีจุดอุ่น คือ การควบคุมไม่สามารถทำได้อย่างถี่ถ้วน  ยิ่งถ้ากิจการขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางก็จะทำให้การควบคุมยากยิ่งขึ้น  อันเป็นเหตุให้ต้นทุนและค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น เพราะอาจมีการรั่วไหลได้ง่าย และมีจุดเด่นคือ มีความยืดหยุ่นสูง เจ้าของกิจการสามารถปรับกิจกรรมต่าง ๆ ได้ทันที
      1.11 การวัดผลและการประเมินผล การประเมินผลงานการดำเนินงานของธุรกิจ  ดูได้จากงบแสดงฐานะการเงิน (Financial Statement)  ซึ่งได้แก่ งบดุล (Balance Sheet)  และงบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement)  หรืองบแสดงรายได้ของกิจการ (Income Statement)  รวมทั้งงบจัดสรผลกำไรและขาดทุน  (Appropriation Statement)   งบแสดงฐานะของธุรกิจเจ้าของคนเดียวนั้น  อาจจะได้รับความเชื่อถือน้อยกว่างบแสดงฐานการเงินของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด
       1.12 การขยายและการเลิก ย่อมทำได้ง่ายกว่า เพราะเจ้าของคนเดียวตัดสินใจได้เลย หรือถ้าเจ้าของตายหรือล้มละลายก็เลิกกิจการไปโดยอัตโนมัติ  ถึงแม้ว่าทายาทจะเข้ามารับผิดช่วงการดำเนินงานต่อ  ก็จะถือว่าเป็นการเปิดใหม่  ในการขยายกระทำได้ยากกว่า  เพราะเงินทุน จำกัด