วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

ส่งงาน 10/16 (รูปแบบองค์กรธุรกิจ (Business Organization))


รูปแบบองค์กรธุรกิจ  (Business Organization)
             องค์กรธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่ในประเทศไทยมีหลายรูปแบบ  ผู้ประกอบธุรกิจบางคนที่ต้องเริ่มประกอบธุรกิจใหม่ ๆ  มักตั้งคำถามว่า ถ้าต้องการจะเป็นเจ้าของธุรกิจสักแห่ง จะเลือกธุรกิจรูปแบบใดดี  คำถามนี้ไม่มีคำตอบที่แน่ชัด เนื่องจากรูปแบบความเป็นเจ้าของธุรกิจที่ดีที่สุดนั้น ขึ้นอยู่กับธุรกิจของแต่ละประเภท   ความต้องการและลักษณะของธุรกิจแต่ละแห่งว่า รูปแบบความเป็นเจ้าของแบบใดที่เหมาะสมกับธุรกิจนั้นมากที่สุด   เจ้าของธุรกิจควรพิจารณาปัจจัยบางอย่างในการเลือกรูปแบบของธุรกิจ  ได้แก่ ปัญหาในการจัดตั้ง เงินทุนที่ธุรกิจต้องการกำไรที่ธุรกิจจะนำไปจัดสรร    ความสัมพันธ์ด้านอำนาจหน้าที่ในการดำเนินธุรกิจ   อายุของการดำเนินธุรกิจ ความต้องการให้ธุรกิจดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง    ข้อจำกัดทางด้านกฎหมายในเรื่องรูปแบบของความเป็นเจ้าของ เช่น รัฐวิสาหกิจ  ซึ่งรัฐบาลจะต้องถือหุ้นเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น

รูปแบบองค์กรธุรกิจ
        รูปแบบองค์กรธุรกิจที่ดำเนินอยู่ในวงธุรกิจของประเทศไท จำแนกรูปแบบใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
            1.กิจการเจ้าของคนเดียว (Single or Sole Proprietorship)
            2.ห้างหุ้นส่วน (Partnership)
            3.บริษัทจำกัด (Limited Company)
           4.บริษัทมหาชน (Public Company

           นอกจาก 4 รูปแบบดังกล่าวข้างต้น ยังอาจมีอีก 2 รูปแบบ คือ สหกรณ์ (Co-operative Society)   และรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise)   หรือถ้าแบ่งรูปแบบองค์กรธุรกิจตามลักษณะการจดทะเบียนธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ สามารถแบ่งได้    2   กลุ่ม ดังนี้

การจดทะเบียนพาณิชย์
             การจดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499   ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการธุรกิจต้องจดทะเบียนหรือไม่ต้องจดทะเบียน ดังนี้
1. ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์    คือ บุคคลธรรมดาคนเดียว  หรือหลายคน (ห้างหุ้นส่วนสามัญ)  รวมทั้งนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย  ซึ่งประกอบกิจการอันเป็นพาณิชยกิจตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด
                2. กิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศให้ผู้ประกอบกิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ดังนี้
2.1 ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
2.2 ผู้ประกอบกิจการขายสินค้า ไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างคิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาท  ขึ้นไป  หรือีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายสินค้ามีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป
2.3 นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม  และสินค้านั้นมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
2.4 ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียว หรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป
2.5 ผู้ประกอบกิจการขนส่งทางทะเล  การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ  การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน  การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน  การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำ และการทำโรงแรม
2.6 ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิตแผ่นซีดี แถบบันทึกวิดีทัศน์ แผ่น VCD  DVD หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดีจิตอล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
2.7 ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประกอบด้วยอัญมณี
2.8 ซึ่งขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต บริการอินเตอร์เน็ต การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์  ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
   2.9 การให้บริการคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต
   2.10 การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
   2.11 การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
   2.12 การให้บริการตู้เพลง

3. กิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์  คือ การค้าเร่ การค้าแผงลอย  กิจการเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล กิจการของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น  กิจการของกระทรวง ทบวง กรม กิจการของมูลนิธ สมาคม สหกรณ์ กิจการซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด
3.1 บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยุ้นส่วนและบริษัท ยกเว้นถ้ากิจการนิติบุคคลเหล่านี้  ถ้าประกอบธุรกิจดังต่อไปนี้ ก็ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ด้วยนั่นก็คือ ธุรกิจขาย  ให้เช่า ผลิตหรือับจ้างผลิตแผ่น CD VDO  VCD  DVD  อัญมณี  ธุรกิจ  E-Commerce   การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต ธุรกิจคาราโอเกะ การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์ บริการตู้เพลง
3.2 พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว. 141   ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515
รูปแบบของกิจการผู้ประกอบการสามารถเลือกรูปแบบของกิจการให้เหมาะสมกับประเภทของธุรกิจของคนได้ดังนี้
1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Single or Sole Proprietorship) คือ  กิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของ  ทำหน้าที่ในการดำเนินงานบริหาร  และรับผิดชอบในหน้าที่ทั้งหมดของกิจการ  โดยได้รับผลตอบแทนเป็นกำไร  และยอมรับการเสี่ยงภัยต่อการขาดทุนแต่เพียงผู้เดียว  กิจการเจ้าของคนเดียวเป็นหน่วยธุรกิจที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย  และมีจำนวนมากกว่ากิจการในรูปแบบอื่น ๆ  กิจการเจ้าของคนเดียวมีหลายประเภททั้งที่เป็นการขายปลีก  การขายส่ง การบริการ ธุรกิจประเภทเจ้าของคนเดียวนี้   มีความสำคัญต่อการผลิต  การจำหน่าย  และการบริโภคเป็นอย่างมาก  กิจการประเภทนี้มักใช้คำนำหน้าว่า “ร้าน” เช่น  ร้านโฟโต้ฟาสต์  ร้านภูษาอาภรณ์  ร้านเจเจบิวตี้ซาลอน  ร้านรสเลิศโภชนา
      ลักษณะและวิธีดำเนินงานของกิจการเจ้าของคนเดียว
      1.1 ความเป็นเจ้าของ มีเพียงคนเดียว
      1.2 การก่อตั้ง ตั้งได้ง่าย ขั้นตอนน้อยมากไม่ยุ่งยาก  เพียงแต่ขออนุญาตจดทะเบียนทำธุรกิจตามกฎหมายเท่านั้น
      1.3 ค่าใช้จ่ายในการก่อตั้ง  ค่าใช้จ่ายมีเพียงเล็กน้อย  แต่ไม่ร่วมค่าใช้จ่ายในการจัดหาสถานที่สำนักงานหรือสร้างโรงงาน
      1.4 ความรับผิดชอบ  เจ้าของรับผิดชอบในหนี้สินทั้งหมด  โดยไม่จำกัดจำนวนในกรณีที่เกิดการล้มละลาย  เจ้าหนี้มีสิทธิติดตามเรียกร้องเอาทรัพย์สินของเจ้าของได้
      1.5 เงินทุนที่จะใช้  เงินทุนมีน้อยเพราะหุ้นส่วนใหญ่มาจากเจ้าของคนเดียว ดังนั้นจึงมักจะเป็นธุรกิจขนาดย่อมนอกจากทุนในส่วนของเจ้าของแล้วยังอาจกู้ยืมได้จากแหล่งเงินทุนต่าง ๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น ๆ
      1.6 ผลตอบแทนจากการลงทุน เจ้าของเป็นผู้รับแต่ผู้เดียวไม่ว่าจะเป็นผลขาดทุนหรือกำไร
      1.7 การรักษาความลับ  กิจการเจ้าของคนเดียวสามารถรักษาความลับทางธุรกิจได้ดี  เนื่องจากไม่จำเป็นต้องมีการประชุมชี้แจงให้ผู้อื่นทราบเหมือนกับการตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท  และไม่จำเป็นต้องเปิดเผยหลักฐานทางการเงินต่อสาธารณชน  จึงเป็นการเก็บความลับได้เป็นอย่างดี
      1.8 กฎระเบียบของทางราชการ  กิจการประเภทนี้ไม่มีข้อผูกพันที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเหมือนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท  เช่น ขอบเขตความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  กฎระเบียบของทางราชการแทบจะไม่มีเลยสำหรับกิจการประเภทนี้
      1.9 เรื่องภาษี การคำนวณภาษีที่ต้องชำระจากกำไรที่ได้จากการประกอบธุรกิจ กิจการค้าคนเดียวนั้น  จะเสียภาษีในรูปภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  ทำให้เจ้าของกิจการไม่ต้องเสียภาษีซ้อนแม้จะไม่สามารถนำรายจ่ายของกิจการมาหักภาษีได้ทั้งหมดก็ตาม
      1.10 ความยืดหยุ่นและการควบคุม  การดำเนินงานโดยเจ้าของคนเดียว  มีอำนาจเต็มที่ในการควบคุมและตัดสินใจในกิจกรรมต่าง ๆ ของกิจการ แต่มีจุดอุ่น คือ การควบคุมไม่สามารถทำได้อย่างถี่ถ้วน  ยิ่งถ้ากิจการขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางก็จะทำให้การควบคุมยากยิ่งขึ้น  อันเป็นเหตุให้ต้นทุนและค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น เพราะอาจมีการรั่วไหลได้ง่าย และมีจุดเด่นคือ มีความยืดหยุ่นสูง เจ้าของกิจการสามารถปรับกิจกรรมต่าง ๆ ได้ทันที
      1.11 การวัดผลและการประเมินผล การประเมินผลงานการดำเนินงานของธุรกิจ  ดูได้จากงบแสดงฐานะการเงิน (Financial Statement)  ซึ่งได้แก่ งบดุล (Balance Sheet)  และงบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement)  หรืองบแสดงรายได้ของกิจการ (Income Statement)  รวมทั้งงบจัดสรผลกำไรและขาดทุน  (Appropriation Statement)   งบแสดงฐานะของธุรกิจเจ้าของคนเดียวนั้น  อาจจะได้รับความเชื่อถือน้อยกว่างบแสดงฐานการเงินของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด
       1.12 การขยายและการเลิก ย่อมทำได้ง่ายกว่า เพราะเจ้าของคนเดียวตัดสินใจได้เลย หรือถ้าเจ้าของตายหรือล้มละลายก็เลิกกิจการไปโดยอัตโนมัติ  ถึงแม้ว่าทายาทจะเข้ามารับผิดช่วงการดำเนินงานต่อ  ก็จะถือว่าเป็นการเปิดใหม่  ในการขยายกระทำได้ยากกว่า  เพราะเงินทุน จำกัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น