วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

ส่งงาน 8/16 (ความจริงของชีวิตและความหมายของชีวิต)


                                              ความจริงของชีวิตและความหมายของชีวิต

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับชีวิต กำเนิดและวิวัฒนาการของชีวิต

          ชีวิต ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 เป็นคำนาม หมายความว่าความเป็นอยู่ตรงกันข้ามกับคำว่า "อชีวะ" หรือ "อชีวิต" คือ ความไม่มีนชีวิตหรือความตายเพราะสิ้นกาย ไออุ่น และวิญญาณ ฉะนั้นการเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตของตนเองจะทำให้เข้าใจข้อเท็จจริง คุณค่า ความสำคัญ ความเป็นไปและความควรจะเป็นแห่งชีวิตของตนได้อย่างถูกต้อง

          พระเทพวิสุทธิเมธี (พุทธทาสภิกขุ) ได้กล่าวถึงชีวิตในมุมมองที่แตกต่างกันว่า “เรื่องของชีวิตคืออะไรนี้ มันก็มีหลายแง่หลายมุม , ถ้ามองในแง่วัตถุชีวิตก็มีความหมายอย่างหนึ่ง ถ้ามองในแง่จิตใจก็มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง ถ้ามองในแง่ธรรมะสูงสุด มันก็มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง แต่เราก็เอาความหมายธรรมดา ๆ นี่ว่า ชีวิตคือความที่ยังไม่ตาย ยังมีชีวิตอยู่ นี้มันคืออะไร ? ด้วยคำถามต่อไปอีกว่าเพื่ออะไร ? เพื่อทำอะไร ? (ธรรมะสำหรับครู : 182)

          จาการตอบคำถามเกี่ยวกับชีวิตตามทรรศนะของท่านพุทธทาสภิกขุทำให้เราทราบลึกลงไปอีกว่าชีวิตมีจุดหมายปลายทาง มิใช่แต่เพียงสักว่ามีอยู่ เป็นอยู่เท่านั้น ซึ่งจุดหมายปลายทางของชีวิตดังกล่าวคือ ความอยู่รอดซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการปฏิบัติหรือเดินตามกฎธรรมชาติ ความอยู่รอดดังกล่าว หมายถึง การรักษาชีวิตของตนเองและรวมไปถึงการอยู่รอดของผู้อื่นในแวดวงเดียวกันด้วย ดังจะเห็นได้จากพฤติกรรมของหมู่สัตว์ที่มีสัญชาตญาณในการดูแลรักษาเผ่าพันธุ์ของตนให้อยู่รอดด้วยการหาอาหารและป้องกันภัยให้แก่ลูกน้อยและบริวารของตน ดังนั้นความอยู่รอดจึงเป็นเป้าหมายของชีวิตในระดับสากลทั้งในคน สัตว์ และพืช


ประโยชน์ของการรู้ความจริงของชีวิต
               พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับคนที่รู้ความจริงของชีวิต (2520 : 21) ว่า “คนที่มีความมั่นใจในชีวิตของตน จนไม่หวาดหวั่นพรั่นพรึงแม้ต่อความตาย ก็เพราะได้ดำเนินชีวิตของตนอยู่อย่างดีที่สุดและได้ใช้ชีวิตนั้นให้เกิดคุณประโยชน์คุ้มค่ากับการที่ได้เกิดมาแล้วชาติหนึ่ง เรียกได้ว่าเป็นอยู่อย่างผู้มีชัย ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต

ความหมายของคำว่าคน
           ท่านพุทธทาสภิกขุได้กล่าวถึงคนในความหมายมนุษย์ว่า “เมื่อพูดถึงคำว่า คน ก็ขอให้ยึดถือเอาความหมายของคำว่ามนุษย์ นั่นแหละเป็นหลัก คำว่า มนุษย์ นี้แปลว่า ผู้มีใจสูง
           ตามทรรศนะของท่านพุทธทาส คำว่า “คน” มีความหมายได้ในสองแง่ คือ แง่ภาษาคนและแง่ภาษาธรรม โดยท่านให้พิจารณาดู ดังนี้

           1. พิจารณาดู “คน” ในแง่ภาษาคน
           คนคืออะไร ? ในภาษาคน ก็คือคนเป็นคนตามความรู้สึกของเราแล้วก็ถือว่าเป็นยอดสุดของวิวัฒนาการ จะกล่าวไปในทางวัตถุร่างกาย เขาก็ถือกันว่า มนุษย์นี้เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการสูงสุด วิวัฒนาการตั้งต้นมาตั้งแต่เป็นสัตว์เซลล์เดียว เป็นสัตว์ในน้ำเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เป็นสัตว์บก เป็นสัตว์ขึ้นไปบนฟ้า เป็นอะไรไปทั่วโลก แล้วก็มาสูงสุดอยู่ที่ความเป็นคน เลยถือว่า คนเป็นยอดสุดของวิวัฒนาการตามวิชาการทางวิทยาศาสตร์

          2. พิจารณาดู “คน” ในแง่ภาษาธรรม
          เมื่อคนมีวิวัฒนาการทางด้านร่างกายอันสูงสูดกว่าสัตว์ ดังนั้น จึงแสวงหาความแตกต่างของตนเองกับสัตว์ต่าง ๆ ทีนี้มาพิจารณาดูคนในแง่ภาษาธรรมหรือด้านจิตใจ คนเราก็ได้เคยพยายามกันในส่วนนี้ จนกระทั่งเกิดบุคคลชนิดที่เราเรียกกันว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ค้นพบความมีจิตใจที่ประเสริฐที่สุด อยู่เหนือความทุกข์ทั้งปวง แล้วก็สอนให้คนอื่นเป็น แล้วปฏิบัติตามได้ด้วย ก็มีความเป็นคนทางจิตใจเกิดขึ้น ซึ่งดีกว่าสัตว์ สูงกว่าสัตว์ ประเสริฐกว่าสัตว์โดยแท้จริง

         ลักษณะของความจริง ความจริงมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับสูงสุด ซึ่งต้องอาศัยสติปัญญาและการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ท่านผู้รู้ทั้งหลายได้วางแนวทางไว้จึงจะสามารถเข้าถึงความจริงได้ เนื่องจากความจริงเป็นนามธรรม จึงต้องอาศัยความรู้เข้าไปศึกษาและอธิบายลักษณะของสิ่งที่เรากำลังพูดถึงเกี่ยวกับเนื้อแท้ของมัน ซึ่งมีคำที่ใช้เป็นสื่ออยู่ 3 คำด้วยกัน คือ ข้อเท็จจริง ความจริง และความเป็นจริง

         1. ข้อเท็จจริง (Fact ) หมายถึง ความรู้เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยประจักษ์ทางประสาทสัมผัสทั้งหน้า ได้แก่ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส และกาย กับสัมผัส
         2. ความจริง (Truth) หมายถึงสิ่งที่เป็นสากล กล่าวคือเป็นสิ่งที่มีคุณสมบัติที่สอดคล้องกับธรรมชาติของความเป็นจริง (Reality) เช่น เรารู้ว่าสิ่งหนึ่งเป็นความจริงจากการพิสูจน์ตรวจสอบด้วยหลักแห่งเหตุผล เช่น คนทกคนต้องตาย ใครก็ตามที่เป็นคน เขาจะต้องตายแน่นอน
         3. ความเป็นจริง (Reality) หมายถึง ความจริงสูงสุด หรือความจริงสมบูรณ์ หมายถึงธรรมชาติแท้ ๆ ของสรรพสิ่งตลอดโครงสร้าง กำเนิด และพัฒนาการของสิ่งนั้น ความจริงสูงสุดดังกล่าวนี้ต้องเป็นจริงที่ตายตัวแน่นอน เป็นอมตะและเป็นนิรันดร เช่น สภาพของจักรวาล สภาพของจิตวิญญาณ เป็นต้น


ทฤษฎีว่าด้วยความจริง

          การที่จะตัดสินว่าอะไรจริงหรือไม่ น่าเชื่อถือหรือไม่ อาจใช้ทฤษฎีว่าด้วยความจริงเป็นเครื่องมือในการตัดสิน และทฤษฎีว่าด้วยความจริง ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันดังต่อไปนี้

          1. ทฤษฎีสหนัย (Inherence Theory) คือ ทฤษฎีที่ถือว่า การที่จะถือว่า ข้อความใดข้อความหนึ่งเท็จจริงหรือไม่ ให้ดูว่าข้อความนี้สอดคล้องกับข้อความอื่น ๆ ที่อยู่ในระบบเดียวกันหรือไม่ ถ้าสอดคล้องกัน ข้อความนั้นก็เป็นจริง ถ้าขัดแย้งกันข้อความนั้นก็ไม่เป็นจริง เช่นถ้ามีใครพูดว่า "นายแดงต้องตายแน่" เราก็ต้องยอมรับคำพูดนี้จริง เพราะความรู้เดิมมีอยู่ว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องตาย แดงก็ต้องกตายเพราะแดงเป็นสิ่งที่มีชีวิต ทฤษฎีนี้จึงเกี่ยวข้องกับวิธีหาความรู้แบบนิรนัย (Deduction)

          2. ทฤษฎีสมนัย (Correspondence Theory) คือทฤษฎีที่ถือว่า การที่จะถือว่าความรู้ใดเป็นความรู้ที่ถูกต้องเป็นจริงก็ต่อเมื่อความรู้นั้นตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ๆ เช่น การที่เราจะยอมรับว่า "น้ำบริสุทธิ์เดือดที่อุณหภูมิ 100 องศา" ก็ต่อเมื่อเราได้ทดลองเอาน้ำไปใส่กาต้มดู ดังนั้นสิ่งที่ค้ำประกันว่า ความรู้ถูกต้องเป็นจริง คือการที่ความรู้นั้นตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ๆ ทฤษฎีนี้จึงเกี่ยวข้องกับการหาความรู้แบบอุปนัย (Induction)

          3. ทฤษฎีปฏิบัตินิยม (Pragmatism) คือทฤษฎีที่ถือว่า เกณฑ์ตัดสินความจริง คือ การใช้งานได้ ความสำเร็จประโยชน์ในทางปฏิบัติ ความมีอัตถประโยชน์ คือ พิจารณาจากความสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติ สิ่งที่เป็นจริงคือ สิ่งที่มีประโยชน์ ปฏิบัติแล้วได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ทฤษฎีปฏิบัตินิยมเกิดจากความบกพร่องของทั้งสองทฤษฎีแรกข้างต้น กล่าวคือ ทฤษฎีสหนัย มีความบกพร่องตรงที่ว่า ถ้าความรู้เดิมผิดพลาด ความรู้ที่เราได้รับมาใหม่ ก็จะต้องผิดพลาดด้วย ทฤษฎีสมนัยมีความบกพร่องตรงที่ว่า ในโลกนี้มีแต่ความเปลี่ยนแปลง ความไม่แน่นอน ดังนั้น สิ่งที่คิดว่าเป็นความจริงในขณะนี้อาจจะไม่ตรงกับคามจริงในอนาคตก็ได้ ดังนั้นจึงมีผู้เสนอให้ใช้ทฤษฎีปฏิบัตินิยมแทน

            ข้อควรระลึกเสมอก็คือในบรรดาทฤษฎีทั้งสามนี้ ไม่มีทฤษฎีใดสมบูรณ์แน่นอนตายตัว ขนาดที่ว่าสามารถจะนำไปใช้ได้กับทุกกรณีทุกที่ทุกสถานการณ์ ทฤษฎีแต่ละทฤษฎีล้วนมีข้อจำกัดในการนำไปใช้ เช่น ทฤษฎีสหนัยใช้ได้ดีกับความจริงทางคณิตศาสตร์ ส่วนทฤษฎีสมนัยนั้นใช้สำหรับตรวจสอบความถูกต้องหรือความจริงทางวิทยาศาสตร์ และถ้ายังไม่พอใจวิธีการ ทั้งสองนั้นก็น่าจะลองหันมาใช้ทฤษฎีปฏิบัตินิยมดูได้ เพราะทฤษฎีปฏิบัตินิยมเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในทางศาสนา และคำสอนในทางศาสนา หากไม่มีการปฏิบัติย่อมจะไม่เกิดผลใด ๆ ขึ้น ตัวอย่างเช่น ในทางพระพุทธศาสนามีคำสอนที่นำชีวิตไปสู่ความพ้นทุกข์ ที่เรียกว่า "นิพพาน" หรือ "อรหันต์" ใครก็ตามที่บรรลุถึงจุดนี้ได้ จะต้องถือปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือมรรคมีองค์ 8 โดยเคร่งครัด ตามหลักมัฌชิมาปฏิปทา หาไม่เช่นนั้น การศึกษาเล่าเรียนโดยไม่ปฏิบัติ ก็จะได้เพียงเรียนรู้จดจำ จะไม่มีโอกาสเข้าถึงสัจจะคือ นิพพาน ตามอุดมการณ์สูงสุดของพระพุทธศาสนาได้เลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น